Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7985
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิมาน กฤตพลวิมานth_TH
dc.contributor.authorอนุวัช วิชัย, 2518-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-07-20T01:49:21Z-
dc.date.available2023-07-20T01:49:21Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7985en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา แนวคิด และทฤษฎี เกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หลักการออกกฎและปัญหาความชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับการออกกฎระเบียบการจัดที่ดินในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การเปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมของไทยและต่างประเทศ และการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อสร้างแนวคิดในการปรับปรุงกฎหมายหรือกฎระเบียบการจัดที่ดินในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้นไป การศึกษาค้นคว้าอิสรนี้ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาค้นคว้า วิจัยจากเอกสาร ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ได้แก่ ตำรา กฎหมาย กฎระเบียบ คำพิพากษาของศาล บทความ วารสาร วิทยานิพนธ์ ข้อมูลสารสนเทศจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาเกี่ยวกับการออกกฎระเบียบการจัดที่ดินในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นการออกกฎระเบียบที่เกินขอบอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนดไว้ ปัญหาขาดการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายภายในฝ่ายปกครอง ปัญหาการบริหารจัดการที่ดินและพื้นที่ทับซ้อนในเขตปฏิรูปที่ดิน และปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เนื่องจากยังไม่มีหลักเกณฑ์การกำหนดเขตที่ดินให้เป็นพื้นที่สำหรับดำเนินกิจการหรือโครงการอื่นที่นอกเหนือจากประเภทเกษตรกรรมที่ชัดเจน ดังนั้น จึงมีข้อเสนอแนะว่าการออกกฎระเบียบการจัดที่ดินในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ควรสร้างกลไกในคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เช่น มาตรการเชิงป้องกันก่อนการออกกฎระเบียบต่าง ๆ ให้มีคณะอนุกรรมการกลั่นกรองกฎระเบียบเพื่อควบคุมความชอบด้วยกฎหมายและมาตรการเชิงแก้ไขภายหลังออกกฎระเบียบแล้วหากมีข้อพิพาทเกี่ยวกับกฎระเบียบนั้น ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการเป็นผู้พิจารณาและปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบดังกล่าว การบริหารจัดการที่ดินในพื้นที่ทับซ้อนในเขตปฏิรูปที่ดินให้มีการบูรณาการทางกฎหมายและกำหนดแนวเขตที่ดินร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และมีหลักเกณฑ์การจำแนกพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินและควบคุมการเปลี่ยนลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยออกเป็นประกาศรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือมติคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนดก็ได้ และการควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้มีความสอดคล้องกับคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 31/2560 และกฎกระทรวงที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยคำนึงถึงหลักการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประกอบด้วยth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการใช้ที่ดิน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--ไทยth_TH
dc.subjectกฎหมายที่ดิน--ไทยth_TH
dc.subjectการจัดสรรที่ดินth_TH
dc.subjectการปฏิรูปที่ดิน--ไทยth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleปัญหาเกี่ยวกับการออกกฎระเบียบการจัดที่ดินในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมth_TH
dc.title.alternativeProblem of the stipulation of rules and regulations of land management for agricultural land reformen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this independent study are to: study background, principles and theories of agricultural land reform, rule stipulation and problems related to legitimacy of land management rule and regulation stipulation for agricultural land reform; compare Thai and foreign laws on agricultural land reform; and analyze problems in order to come up with concepts of improving rules and regulations for agricultural land reform that yield efficiency and effectiveness rules and regulations for agricultural land reform. This independent study is a qualitative, documentary study with collection and analysis of information from related textbooks, laws, regulations, court judgment, articles, journals, thesis, electronic information and other related documents. The findings indicate that the stipulation of rules and regulations of land management for Agricultural Land Reform is not in the legitimized scope of authorization according to the Thai definition of law on Agricultural Land Reform. There is no control of legitimacy of the Agricultural Land Reform Administration Bureau, no systematic management of overlapping territorial claims land in land reform area, and lack of clear criteria on the categorization of land for agricultural and non-agricultural projects which causes problem in utilizing lands in agricultural land reform area. For more efficient and effective future stipulation of rules and regulations of land management for Agricultural Land Reform, it is therefore recommended that a subcommittee be set up under the Committee of Agricultural Land Reform to be a mechanism with clear roles and responsibilities to screen the rules and regulations to ensure their legitimacy and to prepare measures to settle conflicts or disputes that may arise from the implementation of the rules and regulations on Agricultural Land Reform. In addition, clear criteria should be set to categorize agricultural and nonagricultural lands to prevent problems of land utilization and to control the change of land utilization in land reform area by issuing announcement of the Minister of Agriculture and Cooperatives or resolution of the Committee on Agricultural Land Reform. Laws on Agricultural Land Reform should also be improved to conform to the Order of the Head of the National Council for Peace and Order no.31/2560 and other related ministerial regulations in accordance with the policy on Agricultural Land Reform.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext (4).pdfเอกสารฉบับเต็ม23.95 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons