กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7985
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาเกี่ยวกับการออกกฎระเบียบการจัดที่ดินในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Problem of the stipulation of rules and regulations of land management for agricultural land reform |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิมาน กฤตพลวิมาน อนุวัช วิชัย, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี การใช้ที่ดิน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--ไทย กฎหมายที่ดิน--ไทย การจัดสรรที่ดิน การปฏิรูปที่ดิน--ไทย การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา แนวคิด และทฤษฎี เกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หลักการออกกฎและปัญหาความชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับการออกกฎระเบียบการจัดที่ดินในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การเปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมของไทยและต่างประเทศ และการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อสร้างแนวคิดในการปรับปรุงกฎหมายหรือกฎระเบียบการจัดที่ดินในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้นไป การศึกษาค้นคว้าอิสรนี้ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาค้นคว้า วิจัยจากเอกสาร ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ได้แก่ ตำรา กฎหมาย กฎระเบียบ คำพิพากษาของศาล บทความ วารสาร วิทยานิพนธ์ ข้อมูลสารสนเทศจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาเกี่ยวกับการออกกฎระเบียบการจัดที่ดินในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นการออกกฎระเบียบที่เกินขอบอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนดไว้ ปัญหาขาดการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายภายในฝ่ายปกครอง ปัญหาการบริหารจัดการที่ดินและพื้นที่ทับซ้อนในเขตปฏิรูปที่ดิน และปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เนื่องจากยังไม่มีหลักเกณฑ์การกำหนดเขตที่ดินให้เป็นพื้นที่สำหรับดำเนินกิจการหรือโครงการอื่นที่นอกเหนือจากประเภทเกษตรกรรมที่ชัดเจน ดังนั้น จึงมีข้อเสนอแนะว่าการออกกฎระเบียบการจัดที่ดินในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ควรสร้างกลไกในคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เช่น มาตรการเชิงป้องกันก่อนการออกกฎระเบียบต่าง ๆ ให้มีคณะอนุกรรมการกลั่นกรองกฎระเบียบเพื่อควบคุมความชอบด้วยกฎหมายและมาตรการเชิงแก้ไขภายหลังออกกฎระเบียบแล้วหากมีข้อพิพาทเกี่ยวกับกฎระเบียบนั้น ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการเป็นผู้พิจารณาและปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบดังกล่าว การบริหารจัดการที่ดินในพื้นที่ทับซ้อนในเขตปฏิรูปที่ดินให้มีการบูรณาการทางกฎหมายและกำหนดแนวเขตที่ดินร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และมีหลักเกณฑ์การจำแนกพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินและควบคุมการเปลี่ยนลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยออกเป็นประกาศรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือมติคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนดก็ได้ และการควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้มีความสอดคล้องกับคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 31/2560 และกฎกระทรวงที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยคำนึงถึงหลักการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประกอบด้วย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7985 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext (4).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 23.95 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License