Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7999
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ลาวัลย์ หอนพรัตน์ | th_TH |
dc.contributor.author | อรรถวุฒิ ศิรวาณิชย์, 2516- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-07-20T03:37:43Z | - |
dc.date.available | 2023-07-20T03:37:43Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7999 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงแนวคิดการควบคุมอาชญากรรมและความเหมาะสมในส่วนของความรับผิดทางอาญาตามแนวทางของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ทั้งวิเคราะห์ถึงความผิดทางอาญาที่ไม่สามารถยอมความได้ว่าจะสามารถนำมาใช้ร่วมกับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์หรือไม่ โดยคำนึงถึงพื้นฐานทางความคิดเจตนารมณ์และประเด็นปัญหาทางข้อกฎหมาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงกฎหมาย ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจากแนวคิดทฤษฎี และเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Documentary Research) โดยทำการศึกษารวบรวมจากเอกสาร บทความ ตำรา เวปไซต์ และงานวิจัยทางวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในสังคมไทยและในต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าแนวความคิด “ กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ” เป็นความหวังของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาว่าจะสามารถลดปริมาณคดีที่เข้าสู่ระบบอันส่งผลกระทบในหลายด้าน แนวคิดยุติธรรมเชิงสมานฉันท์จะเป็นการกลั่นกรองคดีเพื่อเปิดโอกาสให้คดีที่มีความสำคัญจำเป็นเร่งด่วนได้เข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายอย่างรวดเร็ว รวมถึงเป็นการจัดการกับคดีที่ไม่จำเป็นให้ออกจากระบบ อันจะส่งผลต่อปริมาณคดีและประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรม สิ่งสำคัญเพื่อเป็นการตอบสนองต่อการแก้ปัญหาดังกล่าว การขยายกรอบประเภทความผิดที่สามารถนำมาใช้กับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ให้กว้างยิ่งขึ้น โดยไม่ถูกจำกัดอยู่แต่เพียงความผิดอาญาอันยอมความได้ และความผิดเล็กน้อยอื่นๆเท่านั้น ทั้งนี้ข้อจำกัดดังกล่าวอาจเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการบรรลุตามวัตถุประสงค์ ทั้งนี้เห็นว่าการวางหลักการโดยอาศัยทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดโดยไม่อิงอยู่กับทฤษฎีการลงโทษแต่เพียงอย่างเดียวไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีด้านจิตวิทยา ทฤษฎีทางสังคม ทฤษฎีทางอาชญาวิทยาแนวสันติวิธี เป็นต้น โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายอาญาที่จะไม่เป็นการทำลายต่อหลักการพื้นฐาน | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | ลักทรัพย์ | th_TH |
dc.subject | ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ | th_TH |
dc.subject | กระบวนการยุติธรรมทางอาญา | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน | th_TH |
dc.title | กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับความผิดอาญาอันยอมความไม่ได้กรณีความผิดฐานลักทรัพย์ | th_TH |
dc.title.alternative | Restorative justice with non compromising of offense : burglary offenses | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชานิติศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License