กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7999
ชื่อเรื่อง: | กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับความผิดอาญาอันยอมความไม่ได้กรณีความผิดฐานลักทรัพย์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Restorative justice with non compromising of offense : burglary offenses |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ลาวัลย์ หอนพรัตน์ อรรถวุฒิ ศิรวาณิชย์, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ลักทรัพย์ ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ กระบวนการยุติธรรมทางอาญา การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงแนวคิดการควบคุมอาชญากรรมและความเหมาะสมในส่วนของความรับผิดทางอาญาตามแนวทางของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ทั้งวิเคราะห์ถึงความผิดทางอาญาที่ไม่สามารถยอมความได้ว่าจะสามารถนำมาใช้ร่วมกับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์หรือไม่ โดยคำนึงถึงพื้นฐานทางความคิดเจตนารมณ์และประเด็นปัญหาทางข้อกฎหมาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงกฎหมาย ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจากแนวคิดทฤษฎี และเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Documentary Research) โดยทำการศึกษารวบรวมจากเอกสาร บทความ ตำรา เวปไซต์ และงานวิจัยทางวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในสังคมไทยและในต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าแนวความคิด “ กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ” เป็นความหวังของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาว่าจะสามารถลดปริมาณคดีที่เข้าสู่ระบบอันส่งผลกระทบในหลายด้าน แนวคิดยุติธรรมเชิงสมานฉันท์จะเป็นการกลั่นกรองคดีเพื่อเปิดโอกาสให้คดีที่มีความสำคัญจำเป็นเร่งด่วนได้เข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายอย่างรวดเร็ว รวมถึงเป็นการจัดการกับคดีที่ไม่จำเป็นให้ออกจากระบบ อันจะส่งผลต่อปริมาณคดีและประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรม สิ่งสำคัญเพื่อเป็นการตอบสนองต่อการแก้ปัญหาดังกล่าว การขยายกรอบประเภทความผิดที่สามารถนำมาใช้กับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ให้กว้างยิ่งขึ้น โดยไม่ถูกจำกัดอยู่แต่เพียงความผิดอาญาอันยอมความได้ และความผิดเล็กน้อยอื่นๆเท่านั้น ทั้งนี้ข้อจำกัดดังกล่าวอาจเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการบรรลุตามวัตถุประสงค์ ทั้งนี้เห็นว่าการวางหลักการโดยอาศัยทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดโดยไม่อิงอยู่กับทฤษฎีการลงโทษแต่เพียงอย่างเดียวไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีด้านจิตวิทยา ทฤษฎีทางสังคม ทฤษฎีทางอาชญาวิทยาแนวสันติวิธี เป็นต้น โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายอาญาที่จะไม่เป็นการทำลายต่อหลักการพื้นฐาน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7999 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.79 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License