Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8003
Title: การวัดคุณค่าตราสินค้า เอ ไอ เอส ตามการรับรู้ของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี
Other Titles: Measuring brand equity of AIS as perceived by consumer in Pratumthani province
Authors: ยุทธนา ธรรมเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จำนงค์ จันทร์ทา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้บริโภค--ไทย--ปทุมธานี
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัย เรื่องการวัดคุณค่าตราสินค้าเอไอเอส ตามการรับรู้ของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้คุณค่าตราสินค้าของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานีที่มีต่อผู้ให้บริการ เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เอไอเอสในด้านการตระหนักรู้ในตราสินค้า ความเชื่อมโยงกับตราสินค้า การรับรู้คุณภาพ และความภักดีต่อตราสินค้า และเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความคิดเห็นตามการรับรู้คุณค่าตราสินค้าของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี ที่มีต่อผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เอไอเอส ประชากรคือผู้บริโภคที่ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เอไอเอสซึ่งอาศัยหรือทำงานในจังหวัดปทุมธานี โดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คนได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามที่สร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่น 0.9237 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 25-30 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัท/ลูกจ้าง รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000-20,000 บาท ใช้ บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบเอไอเอสนานมาแล้ว 5 ปืขึ้นไป ความถี่ในการโทรออกเฉลี่ย ต่อวัน5-10ครั้ง รวมระยะเวลาในการโทรออกเฉลี่ยต่อวัน10-30นาที ค่าใช้จ่ายสำหรับการใช้บริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่เฉลี่ยต่อเดือน 200-500 บาท ผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการใช้บริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่คือตนเอง บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่มากที่สุด คือตนเอง ระดับการรับรู้คุณค่าตราสินค้าที่มีต่อผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เอไอเอส ด้านการตระหนักรู้ในตราสินค้า ด้านความเชื่อมโยงกับตราสินค้า ด้านการรับรู้คุณภาพ อยู่ในระดับมาก ยกเว้น ด้านความภักดีต่อตราสินล้าอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างระดับความคิดเห็นตามการรับรู้คุณค่าตราสินค้าของผู้บริโภค โดยจำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายไต้เฉลี่ย/เดือน พบว่ามีการรับรู้ไม่แตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8003
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
122103.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.29 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons