Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8007
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนค่าก่อสร้างโครงการบ้านจัดสรรที่คำนวณต้นทุนแบบดั้งเดิมและแบบ ABC : กรณีศึกษาโครงการบ้านอิงเมือง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง |
Other Titles: | Study of housing estate comparing of traditional costing system and activity based costing system : a case study of Engmuang Village Amphur Banchang Rayong Province |
Authors: | สุนา สิทธิโภอนันตพงษ์ นันทิรา เหลืองประเสริฐ, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา อมรรัตน์ ภิญโญอนันตพงษ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ บ้านจัดสรร--ต้นทุนและประสิทธิผล |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพทั่วไปของโครงการ และสภาพแวดล้อมทางการบัญชีของโครงการบ้านจัดสรร อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่เจ้าของโครงการบ้านจัดสรร ไม่ใช้ข้อมูลทางบัญชีในการคำนวณต้นทุนแบบ ABC (3) เพื่อศึกษาการประมาณการต้นทุนค่าก่อสร้างของโครงการและการคำนวณต้นทุนแบบดั้งเดิม และการคำนวณต้นทุนแบบ ABC ของโครงการบ้านจัดสรร อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง (4) เพื่อเปรียบเทียบการประมาณการต้นทุนค่าก่อสร้างของโครงการ การคำนวณต้นทุนแบบดั้งเดิม และการคำนวณต้นทุนแบบ ABC ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โครงการบ้านจัดสรร 32 โครงการในอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โครงการบ้านอิงเมือง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลในการศึกษางานวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็น (Questionnaire) สำหรับตั้งประเด็นปัญหา และบ้านจัดสรรที่ใช้สำหรับการทดลอง โดยมีแบบตรวจสอบรายการ การคำนวณต้นทุนแบบดั้งเดิม และ แบบ ABC สำหรับรวบรวมข้อมูลต้นทุนการก่อสร้าง โดยการดำเนินการทดลองก่อสร้างบ้าน 2 หลัง เป็นแบบการคำนวณต้นทุนแบบดั้งเดิม และแบบคำนวณด้นทุนแบบ ABC ผลการวิจัยพบว่า โครงการบ้านจัดสรรในอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เป็นโครงการที่มีขนาดโครงการที่มีจำนวนบ้านจัดสรรไม่เกิน 80 หลัง ส่วนมากเป็นโครงการบ้านเดี่ยว โดยเจ้าของโครงการส่วนมากเป็นเพศชาย มีอายุ 41 ปีขึ้นไป การ ศึกษาต่ำกว่า ม.6 / ปวช. - ปวส. และมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวของตับการทำโครงการบ้านจัดสรร 11-20 ปี ผลการทดลองสำหรับบ้านหลังที่มีการบันทึกต้นทุนแบบดั้งเดิมไม่สามารถระบุค่าแรงงานในการก่อสร้างได้อย่างแน่นอน อีกทั้งค่าวัสดุก่อสร้างดีมีมูลค่าสูง สำหรับบ้านหลังที่มีการบันทึกต้นทุนแบบ ABC พบว่าต้นทุนการก่อสร้างในส่วนของค่าวัสดุก่อสร้างมีมูลค่าต่ำ และต้นทุนการก่อสร้างในส่วนของค่าแรงงานก็สามารถระบุได้ชัดเจนในแต่ละกิจกรรม อีกทั้งต้นทุนในการก่อสร้างรวมก็มีมูลค่าต่ำกว่า ทำให้การคำนวณต้นทุนแบบ ABC ทราบต้นทุนค่าก่อสร้างทั้งสิ้นที่เป็นต้นทุนก่อสร้างที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด ในส่วนของปัญหา และอุปสรรคที่เจ้าของโครงการบ้านจัดสรรในอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ไม่ใช้ข้อมูลทางบัญชีในการคำนวณต้นทุนแบบ ABC พบว่า เจ้าของโครงการบ้านจัดสรรโดยส่วนมากไม่รู้จัก และไม่ทราบเกี่ยวกับการคำนวณต้นทุนแบบ ABC ว่าคืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรกับโครงการบ้านจัดสรร |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8007 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License