Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8020
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorเอกอุดม สูหา, 2511--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-07-20T06:58:47Z-
dc.date.available2023-07-20T06:58:47Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8020-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการลงโทษทางอาญา หลักเกณฑ์การนับอายุความทางอาญาและแนวคิดในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ (2) ศึกษาอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปรามปรามการทุจริต ตลอดจนกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง (4) เสนอแนวคิดในการแก้ไข ปรับปรุง กฎหมายและระเบียบ ขั้นตอนกระบวนการไต่สวนการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐของไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พุทธศักราช พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องประกอบกับวิทยานิพนธ์ บทความ ที่ได้เคยศึกษามาก่อนแล้ว ตลอดจนคำพิพากษาของศาลที่ได้พิจารณาวินิจฉัยคดีดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐและเอกสารวิชาการอื่น ผลจากการศึกษาทราบว่าการดำเนินคดีอาญาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. กรณีผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีไปในระหว่างถูกดำเนินคดี มิให้นับระยะเวลาที่ผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีรวมเป็นส่วนหนึ่งของอายุความ นั้น หลักการกำหนดอายุความทางอาญาเป็นเงื่อนไขกำหนดระยะเวลาการลงโทษ ถ้าคดีนั้นได้ขาดอายุความไปแล้วก็จะฟ้องร้องไม่ได้เพราะความผิดทางอาญากระทบต่อสังคม และสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ในการดำเนินคดีหากปล่อยระยะเวลาให้เนิ่นนานออกไป การค้นหาพยานหลักฐานอาจกระทำได้ยากและเป็นผลเสียต่อการพิสูจน์ในเชิงคดีว่าจำเลยมีความผิดหรือบริสุทธิ์ และอาจเกิดข้อผิดพลาดในการพิจารณาคดีสอดคล้องกับกฎแห่งการลืมของกลุ่มประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย เช่น ประเทศฝรั่งเศส กล่าวว่าการกำหนดอายุความทางอาญาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ก็เพื่อพิสูจน์ความผิดทางอาญาแก่ผู้กระทำความผิดซึ่งจะได้ผลที่สุดก็ต่อเมื่อกระทำภายในระยะเวลาที่รวดเร็วที่สุด ยิ่งระยะเวลาล่วงเลยออกไป ความจดจำของพยานยิ่งน้อยลงและประชาชนก็ไม่ได้ให้ความสนใจและไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการลงโทษเพื่อยับยั้งข่มขู่ และการที่ผู้ถูกกล่าวหาได้หลบหนีไปจนพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดก็เป็นการแสดงให้เห็นได้ว่าเขาพยายามกระทำตนให้เป็นคนดีและได้รับความทุกข์มรมานในช่วงระยะเวลาที่หลบหนี การขยายอายุความเพิ่มออกไปอีกต่างจากกฎหมายที่บัญญัติอายุความทางอาญาไว้โดยเฉพาะแล้ว ถือว่าบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวกระทบสิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกกล่าวหาที่จะถูกดำเนินคดีอาญาth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการบังคับใช้กฎหมายth_TH
dc.subjectอายุความ--ไทยth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กรณีมิให้นับระยะเวลาที่ผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีรวมเป็นส่วนหนึ่งของอายุความth_TH
dc.title.alternativeThe enforcement of the organic law on courter corruption in case of prescription period where the accused has escapeden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independence study has objectives to: (1) study principles and theories on criminal punishment, prescription and counter corruption under Thai and foreign laws; (2) study the authority of the National Anti-Corruption Commission in criminal proceeding against persons holding political positions; (3) analyze problems and obstacles in enforcing the organic law on counter corruption as well as other related legislations; and (4) propose a proper amendment to the organic law on counter corruption regarding criminal proceeding against persons holding political positions. This independence study is a legal qualitative research conducted through documentary research by analyzing the provisions of the Constitution of The Kingdom of Thailand, B.E. 2550 and the Organic Act on Counter Corruption, B.E. 2542 as amended and other related legislations, thesis, articles, court judgments, and other related documents. The research founded that in criminal proceeding conducted by the National Anti-Corruption Commission (NACC), there is a provision stated that period of time where the accused has escaped shall not be counted as a criminal prescription. This provision of law deemed to affect the rights and liberties of Thai people under the Constitution of the Kingdom of Thailand since as long as of the period of time the evidence to prove whether a person is innocent or guilty will lost or hard to find. This conforms to the principle of limited prescription in the Civil law countries such as France which explains that the criminal proceeding should be concluded in short period as possible. If the time goes, the memory of witness will lost and the public will not pay attention to the case. These may not fulfill the objective of the deterrent punishment. Besides, the escaped person would behave himself or herself during the prescription, this seems to be a moral punishment for such person. The extension of the prescription period in criminal proceeding under the Organic Act on Counter Corruption, B.E. 2542 as amended by Act No.2, B.E. 2554 for longer than that stipulated under the Criminal Code, would affect the rights and liberties of the people, particularly where the accused is a lay person who is not a person holding political positionen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.82 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons