กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8020
ชื่อเรื่อง: การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กรณีมิให้นับระยะเวลาที่ผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีรวมเป็นส่วนหนึ่งของอายุความ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The enforcement of the organic law on courter corruption in case of prescription period where the accused has escaped
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
เอกอุดม สูหา, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การบังคับใช้กฎหมาย
อายุความ--ไทย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการลงโทษทางอาญา หลักเกณฑ์การนับอายุความทางอาญาและแนวคิดในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ (2) ศึกษาอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปรามปรามการทุจริต ตลอดจนกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง (4) เสนอแนวคิดในการแก้ไข ปรับปรุง กฎหมายและระเบียบ ขั้นตอนกระบวนการไต่สวนการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐของไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พุทธศักราช พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องประกอบกับวิทยานิพนธ์ บทความ ที่ได้เคยศึกษามาก่อนแล้ว ตลอดจนคำพิพากษาของศาลที่ได้พิจารณาวินิจฉัยคดีดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐและเอกสารวิชาการอื่น ผลจากการศึกษาทราบว่าการดำเนินคดีอาญาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. กรณีผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีไปในระหว่างถูกดำเนินคดี มิให้นับระยะเวลาที่ผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีรวมเป็นส่วนหนึ่งของอายุความ นั้น หลักการกำหนดอายุความทางอาญาเป็นเงื่อนไขกำหนดระยะเวลาการลงโทษ ถ้าคดีนั้นได้ขาดอายุความไปแล้วก็จะฟ้องร้องไม่ได้เพราะความผิดทางอาญากระทบต่อสังคม และสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ในการดำเนินคดีหากปล่อยระยะเวลาให้เนิ่นนานออกไป การค้นหาพยานหลักฐานอาจกระทำได้ยากและเป็นผลเสียต่อการพิสูจน์ในเชิงคดีว่าจำเลยมีความผิดหรือบริสุทธิ์ และอาจเกิดข้อผิดพลาดในการพิจารณาคดีสอดคล้องกับกฎแห่งการลืมของกลุ่มประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย เช่น ประเทศฝรั่งเศส กล่าวว่าการกำหนดอายุความทางอาญาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ก็เพื่อพิสูจน์ความผิดทางอาญาแก่ผู้กระทำความผิดซึ่งจะได้ผลที่สุดก็ต่อเมื่อกระทำภายในระยะเวลาที่รวดเร็วที่สุด ยิ่งระยะเวลาล่วงเลยออกไป ความจดจำของพยานยิ่งน้อยลงและประชาชนก็ไม่ได้ให้ความสนใจและไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการลงโทษเพื่อยับยั้งข่มขู่ และการที่ผู้ถูกกล่าวหาได้หลบหนีไปจนพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดก็เป็นการแสดงให้เห็นได้ว่าเขาพยายามกระทำตนให้เป็นคนดีและได้รับความทุกข์มรมานในช่วงระยะเวลาที่หลบหนี การขยายอายุความเพิ่มออกไปอีกต่างจากกฎหมายที่บัญญัติอายุความทางอาญาไว้โดยเฉพาะแล้ว ถือว่าบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวกระทบสิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกกล่าวหาที่จะถูกดำเนินคดีอาญา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8020
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons