Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8022
Title: | กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นพนักงานสอบสวน : ศึกษาเฉพาะกรณีความผิดอาญาเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน |
Other Titles: | Restorative justice cases at the police interrogation : case study of criminal offense on the juvenile |
Authors: | ธวัชชัย สุวรรณพานิช เอกอนันต์ จำปา, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี ความผิดทางอาญา กระบวนการยุติธรรมสำหรับเยาวชน กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นพนักงานสวบสวน : ศึกษาเฉพาะกรณีความผิดอาญาเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อทราบถึงแนวคิดทฤษฎีรวมถึงเจตนารมณ์ของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นพนักงานสวบสวน กรณีความผิดอาญาเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน (2) เพื่อทราบหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาความอาญาเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติในชั้นพนักงานสวบสวน กรณีความผิดอาญาเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ การศึกษาวิจัย จึงต้องศึกษากฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ไปใช้ โดยการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและปรากฏการณ์จริงจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบหลักเกณฑ์ในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการปฏิบัติในชั้นพนักงานสอบสวนกรณีความผิดอาญาเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน เป็นมาตรการทางกฎหมายที่สำคัญซึ่งสมควรนำหลักความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ เพื่อให้ผู้กระทำผิดได้รับการบำบัดฟื้นฟูที่เหมาะสมและผู้เสียหายได้รับการเยียวยาอย่างแท้จริง แต่จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายโดยตรงที่เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นพนักงานสอบสวนอย่างชัดเจน ปัจจุบันได้มีการจัดทำร่างพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นสอบสวน พ.ศ. .... ขึ้น แต่ก็ยังไม่ประกาศบังคับใช้เป็นรูปธรรม ส่งผลให้ผู้กระทำผิดไม่ได้รับการบำบัดฟื้นฟูที่เหมาะสมและผู้เสียหายไม่ได้รับการเยียวยาอย่างแท้จริง และชุมชนยังขาดโอกาสในการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการต่าง ๆ อย่างสมบูรณ์ จึงเห็นควรนำหลักความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ซึ่งมีหลักการที่ให้ความสำคัญกับการเยียวยาผู้เสียหายบำบัดฟื้นฟูผู้กระทำผิด และให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วม มีการเยียวยาตรงกับความต้องการของผู้เสียหาย และยังช่วยลดอัตราการกระทำความผิดซ้ำโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเยียวยาและป้องกัน แก้ไขการกระทำความผิด อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบกระบวนการยุติธรรมและสังคม และด้วยเหตุที่กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์นี้เป็นทั้งปรัชญา แนวคิด และแนวปฏิบัติที่สั่งสมมาจากข้อจำกัดของระบบการอำนวยความยุติธรรม ซึ่งในปัจจุบันการอำนวยความยุติธรรมที่มุ่งเน้นความสมานฉันท์นี้จึงน่าจะมีพื้นที่ที่สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่มีขอบเขต และแนวคิดเรื่องกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์เป็นแนวคิดเปิดที่ยังสามารถทำการศึกษาวิจัยในมิติต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางต่อไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8022 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License