Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8028
Title: ความคิดเห็นของนักลงทุนไทยในประเทศสหภาพเมียร์มาร์เกี่ยวกับอุตสาหกรรมพลังงาน
Other Titles: Opinions on energy industry of Thai investors in the republic of the Union of Myanmar
Authors: ยุทธนา ธรรมเจริญ
กิ่งพร บัวทอง, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด--การศึกษาเฉพาะกรณี
นักลงทุน
การลงทุน--สหภาพเมียร์มาร์
อุตสาหกรรมพลังงาน--สหภาพเมียร์มาร์
การศึกษาอิสระ--การตลาด
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพแวดล้อมระดับมหภาคของการลงทุนในสหภาพเมียนมาร์ และ (2) สภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมพลังงานในสหภาพเมียนมาร์ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ นักธุรกิจชาวไทยที่ลงทุนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมพลังงานในสหภาพเมียนมาร์ ซึ่งมีจํานวนทั้งหมด 120 บริษัท และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า (1) สภาพแวดล้อมระดับมหภาคที่ก่อให้เกิดโอกาสการลงทุน ด้านธุรกิจพลังงานในสหภาพเมียนมาร์โดยเรียงลําดับค่าเฉลี่ยได้ดังนี้ ด้านทรัพยากรธรรมชาติอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.21 รองลงมาคือ ด้านสังคมและวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ย 3.82 ด้านเทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ย 3.50 ด้านเศรษฐกิจ มีค่าเฉลี่ย 2.19 และด้านการเมืองและกฎหมาย มีค่าเฉลี่ย 1.47 และ (2) สภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมพลังงานในสหภาพเมียนมาร์พบว่า ไม่มีความรุนแรงเนื่องจากการเข้ามาทําธุรกิจใหม่ในสหภาพเมียนมาร์เป็นไปได้ยาก สินค้าทดแทนมีอิทธิพลในอุตสาหกรรมพลังงานน้อย คู่แข่งทางตรงในอุตสาหกรรมมีไม่มาก ซึ่งที่มีอยู่ก็มีขีดความสามารถตํ่า การพึ่งพาผู้จําหน่ายวัตถุดิบมีน้อย ส่วนอํานาจการต่อรองของลูกค้าค่อนข้างตํ่า
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8028
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_141067.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.97 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons