Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8040
Title: ปัญหาการไม่จำกัดสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น
Other Titles: The problem of not limiting the right of appeals against the judgment of the administrative court of first instance
Authors: ชนินาฏ ลีดส์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เอกพจน์ พึ่งเกษม, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
อุทธรณ์
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องปัญหาการไม่จำกัดสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวความคิด ทฤษฎีทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิอุทธรณ์ ฎีกาคำพิพากษาของศาลปกครองในต่างประเทศ แนวความคิดทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิอุทธรณ์ ฎีกาคำพิพากษาของศาลปกครองในระบบกฎหมายไทย และวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการไม่จำกัดสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น รวมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 ในส่วนที่เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของ ศาลปกครองชั้นต้น การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสารจากตำรา บทความ เอกสารวิจัย วารสารทางกฎหมาย คำพิพากษาของศาล กฎหมายต่างประเทศ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542และระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง ไม่ได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น ทำให้คู่กรณีสามารถยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาได้ทุกคดี ส่งผลให้มีคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลปกครองสูงสุดเป็นจำนวนมาก นำมาซึ่งปัญหาคดีค้างพิจารณาในศาลปกครองสูงสุด ผู้ศึกษามีความเห็นว่า ควรมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาในปัญหาข้อเท็จจริงสำหรับคดีบางประเภท ทั้งนี้ ผู้เขียนขอเสนอแนวทางว่า ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 โดยกำหนดให้คู่กรณีห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายที่มีข้อเท็จจริงไม่ยุ่งยาก คดีพิพาทเกี่ยวกับการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร และคดีพิพาทซึ่งมีทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทไม่เกินจำนวนสองแสนบาท แต่มีข้อยกเว้นสำหรับคดีที่มีความเห็นแย้งหรือมีคำรับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์หรืออธิบดีศาลปกครองชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ เพื่อทำให้มีระบบคัดกรองคดีที่ควรแก่การพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ และเพื่อแก้ไขปัญหาคดีค้างพิจารณาในชั้นศาลปกครองสูงสุดต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8040
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.79 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons