กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8041
ชื่อเรื่อง: | ศักยภาพในการตรวจสอบถ่วงดุลของสภาท้องถิ่น : กรณีศึกษาสภาเทศบาลในจังหวัดนครราชสีมา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Potential of local council in local administrative accountability " a case study of Municipal Councils in Nakhonratchasima Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา จุมพล หนิมพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา ประสิทธิ์ ตันติกิตติพิสุทธิ์, 2501- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์ สภาเทศบาล -- ไทย -- นครราชสีมา |
วันที่เผยแพร่: | 2549 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครังนี้มีวัตถุประสงค์ (1) วัตถุประสงค์หลักที่ 1 เพื่อเปรียบเทียบศักยภาพในการตรวจสอบถ่วงดุลของสภาเทศบาล ตำบล สภาเทศบาลเมือง และสภาเทศบาลนคร และวัตถุประสงค์รองเพื่อศึกษาระดับศักยภาพในการตรวจสอบถ่วงดุลของสภาเทศบาล (2) วัตถุประสงค์หลักที่ 2 เพื่อเปรียบเทียบศักยภาพในการตรวจสอบถ่วงดุลของสภาท้องถิ่น ที่สังกัดกลุ่มเดียวกันกับฝ่ายบริหาร คนละกลุ่มกับฝ่ายบริหาร และไม่สังกัดกลุ่ม และวัตถุประสงค์รองเพื่อศึกษาระดับศักยภาพในการตรวจสอบถ่วงดุลของการสังกัดกลุ่มการเมืองท้องถิ่น (3) วัตถุประสงค์หลักที่ 3 เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพในการตรวจสอบถ่วงดุลของสภาท้องถิ่น และ (4) วัตถุประสงค์หลักที่ 4 เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรด และแนวทางพัฒนาศักยภาพในการตรวจสอบถ่วงดุลของสภาท้องถิ่น รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประเภทการวิจัยแบบตัดขวาง ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ สภาท้องถิ่นรูปแบบ สภาเทศบาล จำนวน 48 แห่ง ในจังหวัดนครราชสีมา โดยกลุ่มตัวอย่างได้จากการแบ่งชั้นภูมิตามพื้นที่เขตอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ประกอบด้วยสภาเทศบาลนคร 1 แห่ง สภาเทศบาลเมือง 2 แห่ง และสภาเทศบาลตำบล 28 แห่ง ขนาดตัวอย่าง 194 คน ประกอบด้วย สมาชิกสภาเทศบาลนคร 10 คน สมาชิกสภาเทศบาลเมือง 16 คน และสมาชิกสภาเทศบาลตำบล 168 คน และสัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์หรือเชี่ยวชาญเกี่ยวกับสภาเทศบาล หรือชุมชนและสังคมของท้องถิ่นรวม 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตรประเมินค่า ค่าความเชื่อถือได้ .701 และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบนขั้นตอน ส่วนในการสัภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ตัวแปรอิสระที่ศึกษา ได้แก่ กฎระเบียบ ทรัพยากร แรงจูงใจ เทคโนโลยี การควบคุมภายใน การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและการตรวจสอบภาคประชาชน ตัวแปรตาม ได้แก่ ศักยภาพในการตรวจสอบถ่วงดุลของสภาท้องถิ่น ประกอบด้วยมิติย่อย 2 มิติ ได้แก่ ภาระรับผิดชอบต่อกระบวนการ และภาระรับผิดชอบต่อผลงาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการทดสอบสมมุติฐานหลัก ศักยภาพในการตรวจสอบถ่วงดุลของสภาท้องถิ่น ไม่ขึ้นกับระดับของ สภาท้องถิ่น และผลการทดสอบสมมุติฐานรอง ศักยภาพในการตรวจสอบถ่วงดุลของสภาท้องถิ่นน้อยกว่าระดับมาก (2) ผลการทดสอบสมมุติฐานหลัก การสังเกตุกลุ่มการเมืองท้องถิ่นมีผลต่อศักยภาพในการตรวจสอบถ่วงดุลของสภาท้องถิ่น ที่ระดับนัยสำคัญ .05 และผลการทดสอบสมมุติฐานรอง ศักยภาพในการตรวจสอบถ่วงดุลของการสังเกตุกลุ่มการเมืองท้องถิ่น น้อยกว่าระดับมาก (3) ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่าการตรวจสอบภาคประชารน กฎระเบียบ และเทคโนโลยี สามารถอธิบายความฝันแปรของศักยภาพในการตรวจสอบถ่วงดุลของสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่ระดับนัยสำคัญ .05 (4) ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่าการตรวจสอบภาคประชาชน และกฎระเบียบ สามารถอธิบายความผันแปรของมิติภาระรับผิดชอบต่อกระบวนการ ที่ระดับนัยสำคัญ .05 และ (ร) ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่าการตรวจสอบภาคประชาชน และเทคโนโลยี สามารถอธิบายความผันแปรของมิติภาระรับผิดชอบต่อผลงาน ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ข้อเสนอแนะในการพัฒนาศักยภาพในการตรวจสอบถ่วงดุล ได้แก่ (1) รูปแบบวิธีการในการพัฒนาศักยภาพใน การตรวจสอบถ่วงดุล ไม่ต้องคำนึงถึงระดับของสภาท้องถิ่น รูปแบบวิธีการ สามารถกำหนดได้ในแบบเดียวกัน (2) พัฒนาสมาชิกสภาท้องถิ่นให้มีการสังกัดกลุ่ม เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดวิทยาการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ให้กันอย่างต่อเนื่อง (3) ส่งเสริมและพัฒนาภาคประชาชน เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในเรื่องการตรวจสอบถ่วงดุล (4) พัฒนากฎระเบียบ หลักเกณฑ์วิธีการ ให้มีความครบถ้วน ถูกต้องเหมาะสมตามสมัย ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และ (5) พัฒนาความรู้ความสามารถ หรือเทคโนโลยี ให้สมาชิกสภาท้องถิ่นมีความพร้อมสามารถทำหน้าที่ตามขอบเขตหรือหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนด |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8041 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License