Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8054
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธวัชชัย สุวรรณพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorกัญกนิษฐ์ ฤทธิ์แสงจันทร์, 2519--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-07-21T06:39:00Z-
dc.date.available2023-07-21T06:39:00Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8054-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินคดีความรุนแรงในครอบครัว ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ ตัวบทกฎหมาย ตำรา หนังสือกฎหมายต่าง ๆ คำอธิบายกฎหมาย บทความ วารสาร รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ตลอดจนเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ ผลการศึกษา พบว่า ปัญหาระยะเวลาการดำเนินคดีในชั้นสอบสวน ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 8 กำหนด ไว้นั้น ไม่สอดคล้องกับการดำเนินคดีด้วยความรวดเร็วในคดีความรุนแรงในครอบครัว อีกทั้งคดีความรุนแรงในครอบครัวนั้นไม่ได้มีลักษณะซับซ้อนจึงควรใช้เวลาที่รวดเร็ว จึงควรแก้ไขมาตรา 8 โดยกำหนดระยะเวลาการผัดฟ้องให้เป็นคราวละ 3 วันแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสามคราว การดำเนินคดีความรุนแรงในครอบครัวนั้นเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนเจ้าหน้าที่ที่จะดำเนินการกระบวนการจะต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย ในขณะที่พนักงานสอบสวนที่มีหน้าที่หลักในการสอบสวนคดีอาญาทั่วไปที่มุ่งหาพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของผู้กระทำความผิด แต่การสอบปากคำผู้กระทำความผิดคดีความรุนแรงในครอบครัวต้องมุ่งหาสาเหตุแห่งการกระทำผิดที่ได้กระทำต่อผู้ถูกกระทำ ซึ่งเป็นบุคคลในครอบครัว การที่พนักงานสอบสวนไม่เข้าใจเจตนารมณ์อย่างถ่องแท้อาจส่งผลให้การดำเนินคดีไม่ถูกต้อง ในขณะที่กฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกาเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาแนะนำและกำหนดอำนาจหน้าที่ไว้เป็นพิเศษในการช่วยเหลือคู่สมรส เช่นนี้ควรกำหนดให้จัดพนักงานสอบสวนที่เชี่ยวชาญเฉพาะในการดำเนินคดี ปัญหาการตั้งผู้ไกล่เกลี่ย ตามมาตรา 16 กำหนดว่า “พนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาลแล้วแต่กรณีอาจตั้งผู้ประนีประนอม...” หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาลอาจตั้ง หรือไม่แต่งตั้งผู้ประนีประนอม หรือคณะบุคคล เพื่อให้คำปรึกษาหรือช่วยเหลือในการไกล่เกลี่ยให้มีการยอมความกันก็ได้ ในขณะที่มาตรา 11 กำหนดชัดเจนว่า “ให้ศาลมีอำนาจ” หมายความว่า ศาลจะต้องออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีบรรเทาทุกข์ แตกต่างกับมาตรา 16 จึงเห็นว่า สมควรที่จะกำหนดให้อำนาจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาลในการแต่งตั้งผู้ประนีประนอม หรือคณะบุคคล เพื่อให้คำปรึกษาหรือช่วยเหลือในการไกล่เกลี่ยให้มีการยอมความกันก็ได้ ให้มีความชัดเจนมากขึ้นต่อไป และประเด็นสุดท้ายพบว่าการดำเนินคดีความรุนแรงในครอบครัวนั้นนำวิธีการระงับข้อพิพาทโดยการไกล่เกลี่ยมาใช้นั้นอาจไม่เหมาะสม ควรนำมาตรการพิเศษในการดำเนินคดีความรุนแรงในครอบครัวมาใช้กับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง พ.ศ. 2550 ทั้งนี้ โดยนำหลักการดำเนินมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาจากพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาเป็นแนวทาง โดยเฉพาะเงื่อนไขในส่วนของ “ผู้กระทำความรุนแรงต้องสำนึกในการกระทำก่อนที่จะมีการฟ้องคดี และผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงต้องให้ความยินยอม” ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การแก้ไข ฟื้นฟู ผู้กระทำความผิดและเพื่อรักษาความสัมพันธ์ของสถาบันครอบครัวต่อไปth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectความรุนแรงในครอบครัว--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมth_TH
dc.titleปัญหาการดำเนินคดีและการใช้มาตรการพิเศษในการดำเนินคดีความรุนแรงในครอบครัวth_TH
dc.title.alternativeProblems of legal proceedings and application of special measure in legal proceedings of domestic violenceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objective of the independent study in the title of problems of legal proceedings and application of special measure in legal proceedings of domestic violence is to study problems occurred from legal proceedings of domestic violence under Domestic Violence Victim Protection Act B.E. 2550 (2007).This independent study is the qualitative research through studies from documents, articles of law, textbooks, legal books, legal explanations, articles, journals, research reports, thesis, computer and internet data, and related documents both of Thailand and foreign countries. The finding of the studying results indicated that problems of legal proceeding duration in inquiry system as prescribed in Section 8 are prescribed inconsistently with speedy legal proceedings in domestic violence case. In addition, the nature of the domestic violence case has been not complicated. Therefore, short time should be taken, and should revise Section 8 by determining litigation postponement duration for 3 days per each time of postponement and not exceeding three times. The legal proceedings of domestic violence have been the sensitive issues. The officer who executes the process shall have knowledge and understanding relating to spirit of law while the inquiry official who has main duty in inquiry of general criminal cases shall aim at corroboration of evidences for proof of the offender’s offence. However, the examination of the offender of family violence case shall aim at determining the cause of offence that is committed against the victim who is the family member. The non-insight understanding of the inquiry official on intention may affect improper legal proceedings. Meanwhile, according to USA laws, the policemen shall be expert in giving counsels and advices and their authorities in assisting the spouses shall be specially determined. In this way, it should be determined that the inquiry official who is expert particularly in legal proceedings shall be arranged. The problem of mediator appointment under Section 16 is prescribed that “the competent authority or the court as the case may be may appoint the mediator...” It is meant that the competent authority or court may appoint or not appoint the mediator or juristic body to give counsel or assist in mediation for compromise. Meanwhile Section 11 clearly prescribes that “the empowerment to the court” means that the court shall issue the order to determine measure or procedure of relief to be different from Section 16. Therefore, it was deemed to be appropriate for further clearer determination on empowerment to the competent authority or the court in appointing the mediator or juristic body for giving counsel or assistance in mediation for compromise. The finding from the last aspect indicated that it might be improper for applying the procedure of dispute settlement by compromise in legal proceedings of domestic violence. Special measure in legal proceedings of domestic violence should be applied with Domestic Violence Victim Protection Act B.E. 2550 (2007). Nevertheless, the principle of the execution of the special measure in lieu of criminal proceedings from Juvenile and Family Court and Juvenile and Family Case Hearing Procedure Act B.E. 2553 (2010) shall be applied as guideline particularly in the condition in part of “the person who commits the violence shall realize his/her act prior to litigation, and the victim of violence shall give consent” in order to bring about the correction and rehabilitation of the offender to maintain the relationship of the family institution accordinglyen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.1 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons