กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8059
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในจังหวัดตากที่มีต่อมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The opinion of personnel income tax payers in Tak Province with tax measures of government's economy stimulation
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สายใจ เตชะสาย, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้เสียภาษี--ไทย--ตาก
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาต่อมาตรการภาษีในด้านการใช้ประโยชน์ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และ (2) ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหวางปัจจัยส่วนบุคคลกบมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีประชากรเป็นผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในจังหวัดตาก จำนวน 33,406 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 395 คน การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการ สุ่มตัวอยางแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละและ ไคว์สแควร์ ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้เสียภาษีใช้สิทธิประโยชน์ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา 2 มาตรการ คือ การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้สุทธิส่วนที่เกิน 100,000 บาท และ การเพิ่มวงเงินประกันชีวิตจากเดิม 50,000 บาทเป็น 100,000 บาท ซึ่งมีผู้ได้รับสิทธิประโยชน์จากมาตรการภาษี ร้อยละ 29.11 ของกลุ่มตัวอยางทั้งหมดและผู้เสียภาษี ร้อยละ 70.38 มี ความคิดเห็นว่ามาตรการภาษีช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ และเห็นว่ามาตรการภาษีที่รัฐบาลควร ดำเนินการมากที่สุดได้แก่ มาตรการภาษีที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเนื่องจากมี ผลกระทบต่อการเสียภาษีของประชาชน และเศรษฐกิจโดยรวมได้มากที่สุด (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา รายได้ สถานภาพ และประเภทของแบบแสดงรายการกบมาตรการภาษี พบว่ามีเพียงประเภทของแบบแสดงรายการเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับมาตรการภาษี ในระดับความเชื่อมั่น 0.05 ในการทำวิจัยครั้งต่อไปควรดำเนินการวิจัยในมุมมองของภาครัฐซึ่งมาตรการภาษีมีผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษีอากร และดำเนินการศึกษาในประเด็นของมาตรการภาษีปี 2552 เนื่องจากมีการประกาศยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับภาษีที่จัดเก็บจากฐานเงินได้ ก่อนหักค่าใช้จ่ายในอัตราร้อยละ 0.5 สำหรับผู้มีเงินได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายไม่เกิน 1,000,000 บาท
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8059
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
130350.pdf13.09 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons