กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/807
ชื่อเรื่อง: การศึกษาและสำรวจหลักเกณฑ์ของการเก็บรักษาวัตถุอันตรายกลุ่มไอโซไซยาเนตในโรงงานอุตสาหกรรม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The study and servey of criteria for storage isocyanates group hazardous substances in factories
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สราวุธ สุธรรมาสา, อาจารย์ที่ปรึกษา
จักรกฤษณ์ ศิวะเดชาเทพ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนศักดิ์ เรืองสุวรรณ, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
วัตถุอันตราย--มาตรการความปลอดภัย
ไอโซไซยาเนต--การเก็บและรักษา
Isocyanates
วันที่เผยแพร่: 2547
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาหลักเกณฑ์ของการเก็บรักษาวัตถุอันตรายกลุ่มไอโซไซยาเนตในโรงงานอุตสาหกรรมให้ได้ตามกฎหมายและมาตรฐานต่างๆ (2) ศึกษาสภาพที่แท้จริงของโรงงานอุตสาหกรรมที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายกลุ่มไอโซไซยาเนตของประเทศไทย (3) จัดทำหลักเกณฑ์การเก็บรักษาวัตถุอันตรายกลุ่มไอโซไซยาเนตในโรงงานอุตสาหกรรมของประเทศไทย การศึกษาทำโดย (1) ศึกษาหลักเกณฑ์ของการเก็บรักษาวัตถุอันตรายกลุ่มไอโซไซยาเนตของต่างประเทศและกฎกระทรวง (พ.ศ. 2537) ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 โดยใช้มาตรฐานสูงกว่าเป็น เกณฑ์ในการจัดทำหลักเกณฑ์ของการเก็บรักษา (2) สำรวจข้อมูลในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการเก็บรักษาวัตถุอันตรายกลุ่มไอโซไซยาเนตในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่อยู่นอกเขตนิคมอุตสาหกรรม (3) สอบถามความคิดเห็น เหตุผล ข้อเสนอแนะรวมทั้งปัญหาและอุปสรรค ของผู้ควบคุมและกำกับดูแลรับผิดชอบสถานที่ เก็บรักษาวัตถุอันตรายในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของการเก็บรักษาวัตถุอันตรายกลุ่มไอโซไซยาเนต (4) นำรายละเอีขดทั้งหมดมาประมวลโดยใช้ข้อมูลจากการศึกษาและเหตุผลทางวิทยาศาสตร์มาร่วมสนับสนุนในการกำหนดแนวทางในการจัดทำหลักเกณฑ์ของการเก็บรักษาวัตถุอันตรายกลุ่มไอโซไซยาเนตในโรงงานอุตสาหกรรมของประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า (1) โรงงานอุตสาหกรรมที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายกลุ่มไอโซไซยาเนต ยังไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ทางกฎหมายและมาตรฐานต่างๆได้ทั้งหมด (2) โรงงานอุตสาหกรรมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ทั้งหมดของการเก็บรักษาได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ 67.8 ส่วนที่โรงงานอุตสาหกรรมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ไม่ได้ มีรายละเอียดที่สำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อการเกิดอุบัติภัยร้ายแรง เช่น เพลิงไหม้ สารเคมีรั่วไหล การระเบิด โดยสาเหตุเกิดจากการเก็บรักษาวัตถุอันตรายกลุ่มไอโซไซยาเนตไร้รวมกันหรือใกล้กับสารที่ทำปฏิกิริยาและวัสดุที่ติดไฟได้ ระยะห่างในการเก็บรักษากับสารที่ทำปฏิกิริยาตํ่ากว่าเกณฑ์มาตรฐาน การป้องกันการรั่วไหลและพื้นที่รองรับและกักเก็บกรณีวัตถุอันตรายเกิดการตกหล่นรั่วไหล และอุปกรณ์ดับเพลิงที่เหมาะสมในการเก็บรักษา ซึ่งทั้งหมดเป็นส่วนที่สำคัญในเรื่องความปลอดภัยของสถานที่เก็บรักษา และโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของวัตถุอันตราย (3) จัดทำหลักเกณฑ์ของการเก็บรักษาวัตถุอันตรายกลุ่มไอโซไซยาเนตของโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย ได้ 17 หมวด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/807
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
86970.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons