Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8114
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดรรชนี บุญเหมือนใจ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorนวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสุภัทรา วงศ์สุวรรณกิต, 2506--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-07-24T03:04:15Z-
dc.date.available2023-07-24T03:04:15Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8114-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของพนักงานเทศบาลในเขตปริมณฑลของ กรุงเทพมหานคร ที่มีต่อการจัดเก็บภาษีป้าย (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานเทศบาลในเขตปริมณฑล ของกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อการจัดเก็บภาษีป้าย จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะ ของพนักงานเทศบาลในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อการจัดเก็บภาษีป้าย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติงานจัดเก็บภาษีป้าย จำนวน 136 คน และผู้บริหาร ของเทศบาลจำนวน 62 คน รวมทั้งสิ้น 198 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเลือกตอบ คำถามปลายเปิด คำถามปลายปิด และแบบมาตรประมาณค่า โดยมีค่าความเชื่อถือได้เท่ากับ .919 และ .952 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ ผลการวิจัยพบว่า พนักงานเทศบาลที่เป็นผู้ปฏิบัติงานจัดเก็บภาษีป้าย เพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่มีอายุตั้งแต่ 41 ขึ้นไป การศึกษาระดับปริญญาตรี ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ ประสบการณ์ ในการทำงานทั้งแต่ 16 ปี ขึ้นไป สังกัดเทศบาลตำบล มีความคิดเห็นต่อการจัดเก็บภาษีป้ายโดยรวมด้านกฎหมาย ภาษีป้าย ด้านการปฏิบัติงานจัดเก็บภาษีป้าย และด้านเครื่องมือที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีป้าย อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของความคิดเห็นที่มีต่อการจัดเก็บภาษีป้ายจำแนกตามเพศ พบว่าไม่แตกต่างกัน จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ด้านกฎหมายภาษีป้ายแตกต่างกัน สำหรับ การวิเคราะห์ความแปรปรวนของความ คิดเห็นที่มีต่อการจัดเก็บภาษีป้าย จำแนกตามอายุ ระดับตำแหน่ง และประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า ด้านกฎหมาย ภาษีป้ายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการจำแนกตามเทศบาลที่สังกัดไม่พบว่าแตกต่างกัน และพนักงานเทศบาลที่เป็นผู้บริหารของเทศบาล เพศชายมากกว่าเพศหญิง ส่วนใหญ่มีอายุทั้งแต่ 41 ขึ้นไป การศึกษาระดับปริญญาตรี ประสบการณ์ในการทำงาน ทั้งแต่ 16 ปี ขึ้นไป สังกัดเทศบาลตำบล มีความคิดเห็น ต่อการจัดเก็บภาษีป้าย โดยรวมด้านกฎหมายภาษีป้าย ด้านการปฏิบัติงานจัดเก็บภาษีป้าย และด้านเครื่องมือทีใช้ ในการจัดเก็บภาษีป้าย อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของความคิดเห็นที่มีด่อการจัด เก็บภาษป้าย จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานไม่พบว่าแตกต่างกัน ส่วนการจำแนก ตามอายุ และเทศบาลที่สังกัด พบว่า ด้านการปฏิบัติงานจัดเก็บภาษีป้ายแตกต่างกัน สำหรับปัญหาในการจัดเก็บ ภาษีป้าย จะเป็นปัญหาด้านกฎหมายภาษีป้าย ด้านการปฏิบัติงานจัดเก็บภาษีป้าย และด้านเครื่องมือที่ใช้ในการจัด เก็บภาษีป้าย ชึ่งพนักงานเทศบาลได้เสนอแนะให้มีการปรับปรุงให้เหมาะสมต่อไปth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2006.264en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการจัดเก็บภาษี -- ไทยth_TH
dc.subjectภาษีป้ายth_TH
dc.titleความคิดเห็นของพนักงานเทศบาลในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานครที่มีต่อการจัดเก็บภาษีป้ายth_TH
dc.title.alternativeOpinions of the municipal officers in sub-urban area of Bangkok towards signboard tax collectionth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were to: (1) study opinions of the municipal officers in sub-urban area of Bangkok towards signboard tax collection; (2) compare the opinions given by the municipal officers and classify the results according to personal data; and (3) study the municipal officers’problems and recommendations concerning signboard tax collection The sample group of research study were 198 municipal officers, consisting of 136 signboard tax officers and 62 municipal administrators. Instruments used for collecting data were three types of questionnaires: open-ended questions, close-ended questions and estimated scales. Reliabilities were .919 and .952. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test, one way ANOVA and Schcffc’s methods. The results of the study revealed that most signboard tax officers were females of more than 41 years of age with educational level at bachelor’s degree. Their work experience in the position of tax officer under the supervision of Tambon municipality was more than 16 years. Their opinions towards signboard tax laws, implementation and instrument for signboard tax collection were at a high level. In comparing the differences of opinions towards signboard tax collection classified by genders, there was no difference. In addition, the analysis of the opinions classified by educational level showed that the opinions towards signboard tax laws were significantly different. However, the analysis of variance of the opinions classified by age , position level and work experience showed that the opinions towards signboard tax laws were significantly difference at .05. Moreover, the results on the municipal administrators revealed that most municipal administrators were males of more than 41 years of age with educational level at bachelor’s degree. Their work experience in the position of tax officer under the supervision of Tambon municipality was also more than 16 years. Their opinions towards signboard tax laws, implementation and instrument for signboard tax collection weie at a high level. Comparing the differences of opinions classified by genders, educational level,and work experience, there were no difference. However, the analysis of the opinions classified by age, and municipality offices showed that the opinions implementation were significantly different. For the problems concerning signboard tax laws, implementation and instrument for signboard tax collection, the suggestions were that there should be improved in the futureen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
97506.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.98 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons