กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8121
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนเลี้ยงไก่เนื้อในระบบโรงเรือนปิดในจังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Analysis of cost and return on investment of broiler farm in the environmental control houses in Chiang Mai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดรรชนี บุญเหมือนใจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษา
นัฏยา สุขจริง, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
ไก่เนื้อ -- การเลี้ยง
ไก่เนื้อ -- ต้นทุนการผลิต
การวิเคราะห์คุณค่า (การควบคุมต้นทุนการผลิต)
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุน วิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุน และศึกษาปัญหาที่เกิดจากการลงทุนเลี้ยงไก่เนื้อในระบบโรงเรือนปิดในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อในระบบโรงเรือนปิดในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 20 ราย จำแนกตามขนาดฟาร์ม เป็นฟาร์มขนาดเล็ก 4 ราย และฟาร์มขนาดใหญ่ 16 ราย ในช่วงวันที่ 1 มกราคม 2548 ถึง 30 เมษายน 2548 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย และ วิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีโดยใช้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน และอัตรากำไรสุทธิ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ฟาร์มขนาดเล็กใช้เงินลงทุนโดยเฉลี่ย 794,000 นาทีต่อ ฟาร์ม ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงไก่เนื้อ 495,378 บาทต่อรุ่นต่อฟาร์ม ฟาร์มขนาดใหญ่ใช้เงินลงทุนโดย เฉลี่ย 1,082,344 บาทต่อฟาร์ม ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงไก่เนื้อ 691,213 บาทต่อรุ่นต่อฟาร์ม ฟาร์มขนาด เล็กโดยเฉลี่ยมีรายได้จากการเลี้ยงไก่เนื้อ 536,894 บาทต่อรุ่นต่อฟาร์ม กำไรสุทธิ 41,516 บาทต่อรุ่น ต่อฟาร์ม อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนร้อยละ 5.23 ระยะเวลาคืนทุน 15 รุ่น อัตรากำไรสุทธิร้อย ละ 7.73 ฟาร์มขนาดใหญ่โดยเฉลี่ยมีรายได้จากการเลี้ยงไก่เนื้อ 725,173 บาทต่อรุ่นต่อฟาร์ม กำไร สุทธิ 33,960 บาทต่อรุ่นต่อฟาร์มอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนร้อยละ 3.14 ระยะเวลาคนทุน 23 รุ่น อัตรากำไรสุทธิร้อยละ 4.68 ส่วนปัญหาที่กลุ่มตัวอย่างพบมากที่สุดในการเลี้ยงไก่เนื้อในระบบ โรงเรือนปิด คือ ปัญหาเงินทุนหมุนเวียนขาดสภาพคล่อง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8121
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
98012.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons