กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8148
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: People's participation in the formulation of local development plan : a case study of Wieng Sub-District Administrative Organization Thoeng District, Chiang Rai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปภาวดี มนตรีวัต, อาจารย์ที่ปรึกษา
มนต์ฑกาน สังกาศ, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การพัฒนาชุมชน--การมีส่วนร่วมของประชาชน
การวางแผนพัฒนาระดับตำบล--การมีส่วนร่วมของประชาชน
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒพาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลเวียง อำเภอเทิงจังหวัดเชียงราย 2) ศึกษาแนวทางเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ประชากรที่มีสัญชาติไทยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขต ตำบลเวียง จำนวน 13,321 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของแต่ละหมู่บ้าน ได้กลุ่มตัวอย่าง 392 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วน ตำบลเวียง อยู่ในระดับมาก 3 ด้าน เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผน การมีส่วนร่วมในการคิดและตัดสินใจ และการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ ส่วนการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลอยู่ในระดับน้อย 2) ข้อเสนอแนะแนวทางเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลเวียง แยกเป็นด้านได้ดังนี้ (1) ด้านการมีส่วนร่วมในการคิดและตัดสินใจ ควรนำโครงการ / กิจกรรมการพัฒนาที่มาจากปัญหาความต้องการของประชาชน มาบรรจุไว้ในแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล (2) ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนา การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าร่วมประชุมประชาคมอย่างทั่วถึง (3) ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ ควรปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น (4) ค้านการมีส่วนร่วมในการติคตามและประเมินผล ควรมีการเผยแพร่รายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาอย่างทั่วถึง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8148
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_113180.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons