กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8149
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาการบริหารงานของเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Public partictpation in development plan administrative Roi-Et Municipality Roi-Et Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมพงศ์ มีสมนัย
ประสงค์ โพธิ์เนียม, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด--การวางแผน--การมีส่วนร่วมของประชาชน
เทศบาล--ร้อยเอ็ด--การบริหาร.--ไทย
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นแนวทางสำคัญและเป็นกระแสหลักในการบริหารงานภาครัฐในปัจุจุบัน หลักการสำคัญคือเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการบริหารและการดำเนินงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และนำประเทศเข้าสู่สังคมประชาธิปไตย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาการบริหารงานของเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยการมีส่วนร่วมและปัจจัยการดำเนินการเพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาการบริหารงานของเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดที่มีอายุมากกว่า 18 ปี จำนวน 393 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแดวร์ และการทดสอบเอฟ ผลการศึกษาพบว่า 1) ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาการบริหารงานของเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดในระดับมาก 2) ความสัมพันธ์ของปัจจัยการมีส่วนร่วมและปังจัยการดำเนินการเพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาการบริหารงานของเทศบาลมืองร้อยเอ็ดนั้นระดับการศึกษา อาชีพ สถานภาพทางสังคม ถิ่นที่อยู่อาศัย การให้ข้อมูลข่าวสาร การรับฟังประชาชน ทัศนคติของประชาชน และการเปีดให้เข้าถึงมีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาการบริหารงานของเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับแนวทางการสร้างการมีส่วนที่เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดควรดำเนินการคือ เพิ่มการประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลข่วสารการจัดทำแผนพัฒนาการบริหารงานแก่ประชาชนให้มากขึ้น ควรปรับปรุงระบบและระดับการตอบสนองต่อประชาชนให้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จะสามารถเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาการบริหารงานของเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดได้มาก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8149
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_113509.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons