กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/816
ชื่อเรื่อง: ความพร้อมของบุคลากรหน่วยบริการสังกัดกรมสุขภาพจิตในการพัฒนาสู่ศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางจิตเวช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Readiness of staffs in Department of Mental Health's Service Units for development towards the psychiatric excellence center
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิตยา เพ็ญศิรินภา
นครินทร์ ชุนงาม, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อารยา ประเสริฐชัย
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --วิทยานิพนธ
กรมสุขภาพจิต--พนักงาน--บริการสุขภาพจิต
บริการสุขภาพจิต
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ระดับของทัศนคติต่อการพัฒนา การสนับสนุนจากองค์กร และความพร้อมในการปฏิบัติตามเกณฑ์การประเมินความเป็นเลิศในงานบริการ/วิชาการด้านสุขภาพจิตและจิตเวช 2) ความสัมพันธ์และอิทธิพลของปัจจัยดังกล่าวต่อความพร้อมในการปฏิบัติฯ และ 3) ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาสู่ศูนย์ความเป็นเลิศ ประชากรในการศึกษา คือ บุคลากรวิชาชีพต่างๆ ที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการกรมสุขภาพจิต จำนวน 2,224 คน สุ่มตัวอย่างจำนวน 328 คน ตามสัดส่วนของบุคลากรวิชาชีพในหน่วยบริการ เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม ที่มีค่าความเที่ยงระหว่าง 0.86 กับ 0.92 ช่วงเดือนสิงหาคม 2554 ได้รับแบบสอบถามกลับร้อยละ 71.65 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีระดับของทัศนคติต่อการพัฒนาอยู่ในระดับดี ส่วนระดับของการสนับสนุนจากองค์กร และระดับของความพร้อมในการปฏิบัติตามเกณฑ์การประเมินความเป็นเลิศในงานบริการ/วิชาการด้านสุขภาพจิตและจิตเวช อยู่ในระดับปานกลาง 2) ทัศนคติต่อการพัฒนาและการสนับสนุนจากองค์กร ทั้งภาพรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพร้อมในการปฏิบัติฯ โดยการสนับสนุนข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา ทัศนคติต่อประโยชน์จากการพัฒนา และการสนับสบุนกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบ เป็นปัจจัยที่สามารถทำนายความพร้อมในการปฏิบัติฯ ได้รวมกันร้อยละ 53.4 และ 3) ปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการพัฒนาสู่ศูนย์ความเป็นเลิศในการบริการเฉพาะทางจิตเวชในมุมมองที่สำคัญของกลุ่มตัวอย่าง คือ ปัญหาด้านกระบวนการวิจัยในความเป็นเลิศของตน การที่ผู้บริหารไม่สามารถสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ ได้เต็มที่ และไม่มีเวลาในการกำกับดูแล โดยมีข้อเสนอแนะว่าต้องการพี่เลี้ยงที่ช่วยเหลือในงานวิจัย การแบ่งภาระงานที่เพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสม และพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ และเกิดความก้าวหน้าในงาน ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ควรมีนโยบายในการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสม ผู้บริหารควรมีช่องทางการสื่อสาร ให้ข้อเสนอแนะและให้กำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความมั่นใจและขวัญกำลังใจในการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย มีการสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมที่ช่วยให้เกิดคุณภาพในการดูแลผู้ป่วย และการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพต่อไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/816
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
132866.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons