Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8184
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorจันทร์ฉาย โด่งดัง-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-07-25T08:16:14Z-
dc.date.available2023-07-25T08:16:14Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8184-
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประสิทธิผลในการพัฒนาตนเองของข้าราชการศาลยุติธรรมในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 4 (2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของข้าราชการศาลยุติธรรมในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 4 ต่อประสิทธิผลในการพัฒนาตนเอง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ปัจจัยด้านวิธีการพัฒนาตนเองที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิผลในการพัฒนาตนเองของข้าราชการศาลยุติธรรมในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 4 และ (4) แนวทางพัฒนาประสิทธิผลในการพัฒนาตนเองของข้าราชการศาลยุติธรรมในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 4 การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ข้าราชการศาลยุติธรรมในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 4 มี 30 หน่วยงาน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างเฉพาะแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบ ค่าเอฟ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันผลการศึกษาพบว่า (1) ประสิทธิผลในการพัฒนาตนเองของข้าราชการศาลยุติธรรมในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 4 อยู่ในระดับมาก (2) ข้าราชการศาลยุติธรรมในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 4 ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลในการพัฒนาตนเอง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน (3) ปัจจัยด้านวิธีการพัฒนาตนเองมีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับประสิทธิผลในการพัฒนาตนเองของข้าราชการศาลยุติธรรมในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ (4) แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลในการพัฒนาตนเองของข้าราชการศาลยุติธรรมในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 4 ได้แก่ การฝึกอบรมที่จัดโดยสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการควรครอบคลุมทุกตำแหน่ง การเตรียมความพร้อมให้กับข้าราชการที่จะดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นควรพัฒนาข้าราชการให้ทั่วถึงส่วนข้อเสนอแนะพบว่า หน่วยงานควรประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการพัฒนาตนเองด้วยการฝึกงานกับผู้เชี่ยวชาญให้บุคลากรเข้าใจมากยิ่งขึ้น ควรทบทวนสิทธิ์ในการลาศึกษาต่อโดยไม่มีข้อจำกัด การหมุนเวียนงานในงานหน้าบัลลังค์กระทำได้ยาก หน่วยงานควรคัดเลือกบุคลากรที่มีทักษะด้านการพิมพ์งานและการใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อรองรับการปฏิบัติงานth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 4--ข้าราชการth_TH
dc.subjectการพัฒนาตนเองth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจth_TH
dc.titleประสิทธิผลในการพัฒนาตนเองของข้าราชการศาลยุติธรรมในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 4th_TH
dc.title.alternativeThe effectiveness of self-development of judicial service officers of the Adimistrative Office of the Court Of Justice, Region IVth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study aimed to study (1) the effectiveness of self-development of judiciary in the jurisdiction of the Office of the Courts of Justice, Region IV (2) comparing the level of opinions of the judiciary under the Office of the Courts of Justice Region IV on the effectiveness of self-development classified by personal factors (3) factors of self-development method related to self-development effectiveness of judicial officers under the Office of the Courts of Justice Region IV, and (4) guidelines for self-development effectiveness development of Courts of Courts of Justice Affiliation Office of the Court of Justice Region IV. This study was quantitative research. The population consisted of 30 government officials under the Office of the Court of Justice Region IV, using a specific sampling method. The tools used were questionnaires. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test, and pearson-based correlation analysis. The results of the study found that (1) the effectiveness of self- development of the judicial officers under the Office of the Courts of Justice Region IV was at a high level (2) the judicial officials under the Office of the Judiciary Region IV with different gender, age, education level, position, opinions on self-development effectiveness were significantly different at the level of 0.05, while the duration working place and monthly income varies (3) the factors of self-improvement method were significantly related to the self-development effectiveness of the judiciary under the Office of the Justice Court of Justice with statistical significance at the level 0.01,and (4) guidelines for the development of effectiveness in the self-development of the judiciary under the Office of the Judiciary Region IV, namely the training provided by the Judicial Training Institute should cover all positions, preparation for civil servants to hold higher positions should develop all civil servants, as for the suggestions, it was found that agencies should publicize their own development through internships with specialists, let personnel understand more the right to study leave should be reviewed without restrictions, rotating jobs in front of the bench was difficult. The organization should select personnel with typing and computer skills to support the operationsen_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
164439.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.58 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons