กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8188
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทคูซุ่นเฮงหลีเท็กซ์ไทล์ จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Motivation factors affecting work satisfaction employees of Koo Soon Heng Lee Textile Co.,Ltd.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนชัย ยมจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิริพงศ์ เกตุมณี, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การจูงใจในการทำงาน
ความพอใจในการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ พนักงาน บริษัท คูซุ่นเฮงหลีเท็กซ์ไทล์ จำกด (2) ศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท คูซุ่นเฮงหลีเท็กซ์ ไทล์ จำกัด (3) เปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล และ (4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานการศึกษาครั้งนี้ ประชากร คือ พนักงาน บริษัท คูซุ่นเฮงหลีเท็กซ์ไทล์ จำกัด จำนวน 320 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การคำนวณได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 178 คน ซึ่งสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามแผนกงาน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า (1) ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท คูซุ่นเฮงหลีเท็กซ์ไทล์ จำกัด โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านความสำเร็จของงานที่ทำด้านความมั่นคงในงาน ด้านนโยบายและการบริหารงานขององค์กร ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานและความสัมพันธ์กบผู้ร่วมงานหรือผู้บังคับบัญชา ด้านลักษณะของงานที่ทำ ด้านเงินเดือนค่าจ้าง ด้านความรับผิดชอบต่องานที่ทำ ด้านความรู้สึกได้รับการยอมรับ นับถือ และด้านโอกาสได้รับความกาวหน้า (2) ระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท คูซุ่นเฮงหลีเท็กซ์ ไทล์ จำกัด ทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านความรักในองค์กร ด้านความผูกพันมุ่งมั่นในองค์กร ด้านประสิทธิผล ต่อต้นทุน ด้านสมรรถนะบุคคล ด้านความร่วมมือร่วมใจกับหน่วยงานอื่น ๆ ภายในองค์กร และด้านความสอดคล้องของเป้าหมายบุคคลและองค์กร (3) พนักงานที่สังกัดแผนกงานแตกต่างกันมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (4) ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานในระดับปานกลาง ( r=0.528) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8188
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
125793.pdf14.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons