กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8200
ชื่อเรื่อง: | การจัดโครงสร้างการเงินของบริษัทสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Financial structure management of textile and apparel companies listed in the stock exchange of Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กัลยานี ภาคอัต พิสิฐ พัฒนเสรี, 2496- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี บริษัทสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม--การเงิน การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2546 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการปรับโครงสร้างทางการเงินของบริษัทสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ถึง พ.ศ. 2545 (2) วิเคราะห์สภาพคล่องและความเสี่ยงทางการเงินของธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยการศึกษาการจัดโครงสร้างทางการเงินของบริษัทสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 24 แห่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538-2545 ตั้งแต่ก่อนและหลังวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 โดยศึกษาอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ 5 อัตราส่วนคืออัตราส่วนทุนหมุนเวียน อัตราส่วนทุนหมุนเวียนอย่างเร็ว อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และอัตราส่วนกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษีต่อดอกเบี้ยจ่าย ผลการศึกษาพบว่า ก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ มีบริษัท 22 บริษัทใช้เงินกู้ในรูปเงินตราต่างประเทศโดยไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงที่เหมาะสม มี 12 บริษัทใช้แต่เงินกู้ระยะสั้นโดยไม่ใช้เงินกู้ระยะยาวในการดำเนินการ มีบางแห่งลงทุนในสินทรัพย์และหลักทรัพย์ต่างๆ ทำให้ปี พ.ศ. 2541 ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนรวมกันกว่า 9,548 ล้านบาท ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์กว่า 2.043 ล้านบาท ขาดทุนในบริษัทที่ไปค้ำประกันเงินกู้กว่า 2.114 ล้านบาท มี 3 บริษัทต้องเพิ่มทุนจดทะเบียน มี 5 บริษัทต้องออกหุ้นกู้ระยะยาว มี 6 บริษัทต้องปรับโครงสร้างหนี้ และมี 2 บริษัทที่ต้องเข้าสู่แผนฟื้นฟูตามคำสั่งศาล เนื่องจากการมองแต่โอกาสของอุปทานทางการเงิน ละเลยต่อความเสี่ยงทางการเงินและหลักธรรมาภิบาล ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจมี 14 บริษัทได้ประโยชน์จากอัตราแลกเปลี่ยนและสร้างผลกำไร ได้ดีจากการดำเนินการ มีสภาพคล่องที่ดี มีกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษีต่อดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มสูงอย่างรวดเร็ว การจัดโครงสร้างทางการเงินให้มีสภาพคล่องทางการเงินที่เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจ มีความเสี่ยงต่ำ มีต้นทุนทางการเงินที่สามารถสร้างผลกำไรได้ จึงเป็นภาระกิจที่สำคัญมากสำหรับผู้บริหารทั้งในสภาวะเศรษฐกิจเติบโตและตกต่ำ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8200 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_80281.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.07 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License