Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8201
Title: การพัฒนาบุคลากรของกรมทางหลวงชนบท : กรณีศึกษาหลักสูตรการบริหารสำหรับผู้บังคับบัญชาระดับต้น
Other Titles: Personnel development of department of rural road : a case study of first level manager
Authors: เลิมพงศ์ มีสมนัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
รัศนีย์ สาเพ็ชร, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
กรมทางหลวงชนบท
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
หลักสูตร--การบริหาร
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
การพัฒนาบุคลากร
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การดำเนินการพัฒนาบุคลากรของกรมทางหลวงชนบทในหลักสูตรการบริหารสำหรับผู้บังคับบัญชาระดับต้น (2) แนวทางและวิธีเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาบุคลากรของกรมทางหลวงชนบทในหลักสูตรการบริหารสำหรับผู้บังคับบัญชาระดับต้น การศึกษาครั้งนี้ ประชากร ได้แก่ บุคลากรที่เข้ารับการฝึกอบรมของกรมทางหลวงชนบทในหลักสูตร "การบริหารสำหรับผู้บังคับบัญชาระดับต้น" รุ่นที่ 7-11 จำนวนทั้งสิ้น 378 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.90 และความตรงด้านเนื้อหามากกว่า 0.50 การวิจัยข้อมูลตอนที่ 1 ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ และคำร้อยละ ตอนที่ 2 ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเยี่ยงเบนมาตรฐาน ตอนที่ 3 ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า (1) การคำเนินการพัฒนาบุคลากรในหลักสูตรการบริหารสำหรับผู้บังคับบัญชาระดับต้นมีผลต่อระดับประสิทธิภาพของบุคลากรในการบริหารงานสำหรับผู้บังคับบัญชาระดับต้นในทุกด้าน โดยมีความสัมพันธ์หรือส่งผลต่อระดับประสิทธิภาพของบุคลากรในการบริหารสำหรับผู้บังคับบัญชาระดับต้นในทิศทางบวก โดยเรียงลำดับความสัมพันธ์จากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านผลผลิตจากการดำเนินการฝึกอบรม ด้านกระบวนการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม ด้านปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในการดำเนินการฝึกอบรม ด้านสภาวะแวดล้อมในการคำเนินการฝึกอบรม (2) แนวทางและวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพพัฒนาบุคลากรของกรมทางหลวงชนบท ได้แก่ ผู้บริหารของกรมทางหลวงชนบท ควรมีนโยบายส่งเสริมในการพัฒนาบุคลากรในหลักสูตรต่างๆ โดยการใช้วิธีการที่เหมาะสมในการคำเนินการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งได้แก่ การพัฒนาด้านผลผลิตจากการดำเนินการฝึกอบรม ด้านกระบวนการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม ด้านปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในการดำเนินการฝึกอบรม ด้านสภาวะแวคล้อมในการดำเนินการฝึกอบรม เพื่อที่จะทำให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผล และมีคุณภาพต่อการปฏิบัติงานต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8201
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_12725.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.26 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons