กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/820
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยบริการโรงพยาบาลเปือยน้อย ปีงบประมาณ 2550 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Unit cost analysis of Puainoi Hospital, fiscal year 2007 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุรเดช ประดิษฐบาทุกา นภนันท์ นามมา, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา โกวิน วิวัฒนพงศ์พันธ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ การบริการทางการแพทย์--ต้นทุนและประสิทธิผล โรงพยาบาล--ต้นทุนและประสิทธิผล โรงพยาบาล--การวิเคราะห์คุณค่า (การควบคุมต้นทุนการผลิต) |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงพรรณานี้มีวัตถุประสงค์ เพี่อศึกษาต้นทุนต่อหน่วยบริการของโรงพยาบาลเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2550 การศึกษาต้นทุนโดยการเก็บข้อมูลการบริการทั้งหมดของโรงพยาบาลย้อนหลังตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2549 ถึง 30 กันยายน 2550 วิธีวิเคราะห์ต้นทุนด้วยการแบ่งหน่วยต้นทุนออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ (1) หน่วยต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (2) หน่วยต้นทุนที่ก่อให้เกิดรายได้ และ (3) หน่วยต้นทุนที่ให้บริการผู้ป่วย การกระจายต้นทุนรวมของหน่วยต้นทุนไม่ก่อให้เกิดรายได้และหน่วยต้นทุนที่ก่อให้เกิดรายได้มายังหน่วยต้นทุนที่ให้บริการผู้ป่วย ใช้วิธีสมการเส้นตรงต้นทุนทั้งหมดของหน่วยต้นทุนที่ให้บริการผู้ป่วยเมื่อหารด้วยจำนวนครั้งผู้ป่วยนอก ครั้งผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน และวันนอนของผู้ป่วยในตานแผนกของผู้ป่วยจะได้ต้นทุน ต่อหน่วยบริการต่อครั้งผู้ป่วยนอก ต่อครั้งผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน และต่อวันนอนของผู้ป่วยใน ผลการศึกษาพบว่าต้นทุนทั้งหมดของหน่วยบริการผู้ป่วเท่ากับ 24,599,979.14 บาท ประกอบด้วย ต้นทุนรวมทางตรงเท่ากับ 12,443,207.47 บาท และต้นทุนทางอ้อมเท่ากับ 12,156,771.67 บาท ต้นทุนต่อหน่วยบริการผู้ป่วยนอกมีค่าเท่ากับ 231.11 บาทต่อครั้ง จำแนกเป็นต้นทุนบริการพื้นราน 141-75 บาท และต้นทุนรักษาพยาบาล 89.36 บาท ต้นทุนอุบัติเหตุฉุกเฉิน มีค่าเท่ากับ 445.71 บาทต่อครั้ง จำแนกเป็นต้นทุนบริการพื้นฐาน 366.50 บาท และต้นทุนรักษาพยาบาล 79.21 บาท ต้นทุนผู้ป่วยในมีค่าเท่ากับ 1,473.39 บาท ต่อวันนอนจำแนกเป็นต้นทุนบริการพื้นฐาน 1,364.45 บาท และต้นทุนรักษาพยาบาล 108.94 บาท ข้อเสนอแนะจากการศึกษาผู้บริหารควรนำผลการวิจัยไปใช้ในการจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อให้การปฏิบัติงานการให้บริการดูแลสุขภาพดีขึ้นการกำหนดบโยบายบประหยัด การจัดการบัญชียาและเวชภัณฑ์สำหรับยาที่ใช้และคงคลัง กำหนดเกณฑ์มาตรฐานสำหรับการสั่งยาและเวชภัณฑ์ นอกจากนี้ควรจัดตั้งคณะกรรมการการจัดการฐานข้อมูลด้านการเงินและการใช้ทรัพยากรของโรงพยาบาล เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการดูแลรักษาสุขภาพของทุกหน่วยงานของโรงพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/820 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
108778.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.07 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License