กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8210
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความต้องการในการฝึกอบรมของบุคลากรด่านตรวจคนเข้าเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The study of training needs of immigration checkpoint's officials at Suvarnabhumi Airport
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปภาวดี มนตรีวัต, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลภัส จันทร์เรืองแสง, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ--พนักงาน--การฝึกอบรมในงาน
ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง--การฝึกอบรมในงาน
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัญหาในการปฏิบัติงานของบุคลากรด่านตรวจคนเข้าเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (2) ความต้องการการฝึกอบรมของบุคลากรด่านตรวจคนเข้าเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดฝึกอบรมแก่บุคลากรด่านตรวจคนเข้าเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประชากร คือ ข้าราชการตำรวจ สังกัด ด่านตรวจคนเข้าเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 291 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง 168 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งผ่านการทดสอบด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบาค ด้วยค่า 0.898 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) ปัญหาในการปฏิบัติงานของบุคลากรในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยประเด็นปัญหาที่มีค่าเฉถี่ยสูงสุดได้แก่ ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงนโยบายการปฏิบัติงานของ ผู้บังคับบัญชา (2) ความต้องการการฝึกอบรมของบุคลากรด่านตรวจคนเข้าเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยหลักสูตรที่ต้องการมากที่สุดได้แก่ หลักสูตรระเบียบวิธีการปฏิบัติในงานตรวจคนเข้าเมือง โดยเฉพาะหลักสูตรหลักการตรวจสอบหนังสือเดินทางปลอม (3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดฝึกอบรมแก่บุคลากรด่านตรวจคนเข้าเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจำแนกตามความถี่ของความคิดเห็น ใน 3 ลำดัลแรก คือ ลำดับที่ 1 ควรจัดให้มีการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง และทั่วถึงบุคลากรทุกคน ลำดับที่ 2 คือ หลักสูตรการฝึกอบรมต่างๆ ควรเป็นหลักสูตรที่เน้นการนำไปปฏิบัติงานได้จริง และตรงตามความต้องการของบุคลากร ลำดับที่ 3 คือ วิทยากรในการฝึกอบรมควรจัดให้เหมาะสมกับหลักสูตร โดยพิจารณาจากความรู้ ประสบการณ์ และความสามารถ ในการถ่ายทอดความรู้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8210
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_127378.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons