Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8214
Title: การศึกษาความต้องการในการใช้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในจังหวัดปทุมธานี
Other Titles: The study of mobile number portability needs in Pathumthani Province
Authors: เชาว์ โรจนแสง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศุลีพร คูณรัตนศิริ, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
โทรศัพท์เคลื่อนที่--ไทย--ปทุมธานี
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความต้องการในการใช้งานบริการคงสิทธิเลขหมาย โทรศัพท์เคลื่อนที่ (2) เปรียบเทียบความต้องการในการใช้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำแนกตามคุณสมบัติส่วนบุคคล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กำหนดตัวอย่างจากสูตรคำนวณที่ไม่ทราบจำนวน ประชากรของทาโรยามาเน่ ได้จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ไนการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติพรรณนา คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิง อนุมาน คือ การแจกแจงแบบที และการแจกแจงแบบเอฟ ผลการวิจัยในครั้งนี้ พบว่า (1) ผู้ใช้บริการมีความต้องการให้บริการคงสิทธิเลขหมาย โทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการคือ ต้องการเปลี่ยนผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โคยไม่ต้อง เปลี่ยนเบอร์ ด้านราคาคือ เสียค่าธรรมเนียมในการขอใช้บริการคงสิทธิเลขหมาย ด้านช่องทางการจัด จำหน่ายคือ ความรวดเร็วในการให้บริการคงสิทธิเลขหมาย ด้านส่งเสริมการตลาดคือ ต้องการรายการ ส่งเสริมการขายแบบเว้นค่าธรรมเนียม ด้านกายภาพคือ ต้องการความสะอาดของสถานที่ ด้านกระบวน การคือ ความรวดเร็วในการเปิดใช้งาน และด้านบุคคลต้องการคือ ให้พนักงานมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี (2) ความต้องการในการใช้บริการคงสิทธิเลขหมายจำแนกตามคุณสมบัติส่วนบุคคล พบว่า เพศที่ต่างกันมี ความต้องการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่หลังจากที่เปลี่ยนผู้ให้บริการภายใน 3 วันที่ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ 0.05 อายุที่ต่างกันมีความต้องการมีการประชาสัมพันธ์ร่วมกับกิจกรรมอื่นของผู้ให้บริการที่ต่าง กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.0ร ระดับการศึกษาและค่าใช้บริการต่อเดือนมีความต้องการการโฆษณา ตามสื่อต่างๆ ที่ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 อาชีพที่ต่างกันมีความต้องการต้องเสียค่าธรรมเนียม ในการขอใช้บริการที่ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 รายได้ที่ต่างกันมีความต้องการมีน้ำดื่มไว้ บริการระหว่างรอรับบริการที่ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 รูปแบบบริการที่ต่างกันมีความ ต้องการตั้งจุดรับบริการคงสิทธิเลขหมายเคลื่อนที่ตามห้างสรรพสินค้าที่ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8214
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
118782.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons