กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8219
ชื่อเรื่อง: ความสามารถในการแข่งขันของธรุกิจธนาคาร : กรณีศึกษาธนาคารเอเซีย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Competitive advantage of business banking : case study Bank of Asia Public, Limited, headquarter
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนชัย ยมจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
บัณฑิต พัฒนศักดิ์, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: ธนาคารเอเซีย--การบริหาร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ธนาคารและการธนาคาร--การบริหาร
การจัดการธนาคาร--ไทย
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
ธนาคาร--ความสามารถในการแข่งขัน
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันของกิจการ ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต (2) ศึกษาแนวคิดของพนักงานต่อปัจัยที่ก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันของกิจการทั้งที่ปฏิบัติจริงในปัจจุบันและในอนาคต เนื่องจากธุรกิจธนาคารมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง องค์กรจึงต้องมีการปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการให้เกิดความสามารถที่พร้อมในการแข่งขันอย่างรอบด้านกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ พนักงานของธนาคารเอเชีย จำกัด ( มหาชน ) จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามแบบหลายตัวลือกสำหรับข้อมูลลักษณะส่วนบุคคลแบบสอบถามมาตรประมาณค่าเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันในปัจุบัน และอนาคต และแบบสอบถามปลายเปิดสำหรับข้อเสนอแนะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ อัตราร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ซึ่งกำหนดระดับความเชื่อมั่นที่ระดับ 0.95 ผลการศึกษาพบว่า ระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อปัจจัยต่างๆ ในปัจจุบันแสดงว่าโดยภาพรวมทั้ง 14 ปัจจัย ถือว่าธนาคารให้ความสำคัญกับปัจัยส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากโดยมีปัจัยค้านการตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้ามาเป็นอันดับหนึ่ง ยกเว้นปัจจัยด้านบรรยากาศด้านการทำงาน/ผลตอบแทน/แรงจูงใจ ปัจจัยด้านทักษะบริหารและผู้นำและปัจจัยด้านการบริการการเงินและต้นทุน อยู่ในระดับปานกลาง สำหรับภาพรามของระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างในส่วนที่เป็นความคาดหวังอนาคต แสดงว่าโดยภาพรวมทั้ง 14 ปัจจัยถือว่าธนาคารให้ความสำคัญกับทุกปัจจัย โดยให้ความสำคัญปัจจัยด้านการการตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าและปัจจัยด้านสารสนเทศมาเป็นอันดับแรก และให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านบรรยากาศการทำงานเป็นปังจัยลำดับสุดท้าย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8219
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_82079.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons