Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8221
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุขุมาลย์ ชำนิจ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสนิด พร้อมศิลป์, 2515-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-07-26T03:45:10Z-
dc.date.available2023-07-26T03:45:10Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8221-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีอากรตามความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี (2) เปรียบเทียบข้อมูลทั่วไปจำแนกตามระดับการศึกษา ตำแหน่ง รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และประสบการณ์ในการทำงานต่อประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีอากร ตามความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี และ (3) เสนอแนะแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีอากรตามความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลในเขต อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดเก็บภาษีอากรของ องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 16 แห่ง รวม 64 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการ ทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ถ้าพบความแตกต่างที่มีนัยสำคัญจะทำการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ผลการศึกษา พบว่า (1) ประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีอากรตามความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลใน เขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ทุกด้านอยูในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับ ดังนี้ ด้านเวลาที่ใช้ ในการจัดเก็บภาษีอากร ด้านกฎหมาย ระเบียบ ที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีอากร ด้านการจัดการที่ใช้ในการจัดเก็บภาษี อากร และด้านค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีอากร (2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีอากรทุกด้านอยูในระดับมาก ซึ่งประชากรที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน และประชากรที่มีตำแหน่งแตกต่างกันมีระดับความคิดเห็นโดยรวมและด้านค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีอากร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชากรที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนและประสบการณ์ในการทำงานที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการจัดการในการจัดเก็บภาษีอากรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (3) ข้อเสนอแนะในการเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดเก็บภาษีอากรในแต่ละด้านเป็น ดังนี้ ด้านค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีอากรให้ปรับปรุงสถานที่ให้เป็นสัดส่วน สามารถรองรับผู้มาเสียภาษีได้เพียงพอและให้เพิ่มบุคลากรในการปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ ด้านเวลาที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีอากรให้กาหนดเวลาในการให้บริการอย่างชัดเจน ด้านการจัดการ ที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีอากรให้มีการออกรับชำระภาษีนอกสถานที่ ด้านกฎหมาย ระเบียบ ที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีอากรให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบและตระหนักถึงหน้าที่ในการเสียภาษีทุกหมู่บ้านth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการจัดเก็บภาษี--ไทย--อุบลราชธานีth_TH
dc.titleประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีอากรตามความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานีth_TH
dc.title.alternativeThe efficiency of Tax Collection by the opinion of subdistrict administrative organization officer in Muang District, Udonthani Provinceth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
125313.pdf11.98 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons