Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8262
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเสน่ห์ จุ้ยโต, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสุทิพย์ ไชยประพันธ์, 2503-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-07-27T02:25:35Z-
dc.date.available2023-07-27T02:25:35Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8262-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัญหาการประสานแผนพัฒนาของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี (2) เปรียบเทียบปัญหาการประสานแผนพัฒนาขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาข้อเสนอแนะ ปรับปรุงการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับจังหวัดและระดับอำเภอจำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล และปัญหาแนวทางและการเปรียบเทียบ/ข้อเสนอแนะ การประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบที และค่าทดสอบเอฟ ผลการศึกษา พบว่า (1) ภาพรวมปัญหาการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นของคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับจังหวัดและระดับ อำเภอขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี มีปัญหาในระดับ ปานกลาง ได้แก่ ปัญหาด้านโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และกระบวนการดำเนินงาน/แนวทางปฏิบัติและระยะเวลา (2) อายุราชการ/สมัย ดำรงตำแหน่งที่แตกต่างกันของคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับจังหวัด มีผลต่อปัญหาด้าน อำนาจหน้าที่ และด้านกระบวนการดำเนินงาน/แนวทางปฏิบัติและระยะเวลา เพศที่แตกต่างกันของคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับอำเภอ มีผลต่อปัญหาด้านโครงสร้าง ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันของคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับอำเภอ มีผลต่อปัญหาด้านโครงสร้างอำนาจหน้าที่ และ กระบวนการดำเนินงาน/แนวทางปฏิบัติและระยะเวลา และหน่วยงานสังกดที่แตกต่างกันของคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับอำเภอ มีผลต่อปัญหาด้านกระบวนการดำเนินงาน/แนวทางปฏิบัติและระยะเวลา (3) ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่น ด้านโครงสร้าง ควรเพิ่มผู้แทนภาคประชาชน ผู้อำนวยการกองแผนและงบประมาณ ปลัดอำเภอ ผู้รับผิดชอบจัดทำแผนพัฒนาอำเภอ ด้านอำนาจหน้าที่ ควรกำหนดแนวทางในการจัดทำกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น และการพิจารณาโครงการที่เกินศักยภาพของ เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลให้ชัดเจน และด้านกระบวนการดำเนินงาน/แนวทางปฏิบัติและระยะเวลา กรณีการประสานแผนพัฒนากับแผนพัฒนาอำเภอ/จังหวัด/กลุ่มจังหวัดให้ดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม สำหรับการประสานแผนพัฒนาระหวางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคมth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น--ไทย--นนทบุรีth_TH
dc.subjectการพัฒนาชนบทth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจth_TH
dc.titleปัญหาการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรีth_TH
dc.title.alternativeThe problems of local development plan coordination for local administrative organizations in Nonthaburi Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_127733.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.22 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons