Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8264
Title: ความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลนาพญา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
Other Titles: The opinions of people towards the performance of Na Phaya Sub-District Administrative Organization, Langsuan District, Chumphon Province
Authors: ปภาวดี มนตรีวัต, อาจารย์ที่ปรึกษา
วัลลภา หนูน้อย, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
องค์การบริหารส่วนตำบลนาพญา--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงคเพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการ ดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลนาพญา อำเภอหลังสวน จังหวดชุมพร (2) เปรียบเทียบระดับ ความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลนาพญา อำเภอหลังสวน จังหวดชุมพร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลนาพญา อำเภอหลังสวน จังหวดชุมพร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้แทนครัวเรือนในเขตพื้นที่ ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาพญา จำนวน 1,668 ครัวเรือน คำนวณจากสูตรของทาโร ยามาเน่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 323 คน สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเป็นเครื่องมือในการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและค่าเอฟ ผลการศึกษาพบว่า (1) ประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลนาพญา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของประชาชน พบว่าประชาชนที่มีเพศแตกต่างกันมีความคิดเห็นไม่ แตกต่างกันในทุกด้าน ประชาชนที่มีช่วงอายุแตกต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันในทุกด้าน ประชาชนมีระดับการศึกษาแตกต่างกันและอาชีพแตกต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในดานโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมืองการบริหาร (3) ข้อเสนอแนะ ที่มีต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลนาพญา ที่สำคัญ ได้แก่ ควรเปิดโอกาสให้ประชาชน เข้าไปมีส่วนร่วมในการดาเนินการก่อสร้างตั้งแต่เริ่มตนจนสิ้นสุดโครงการ ควรมีไฟฟ้าส่องทางตามแนวถนนให้มากขึ้นถนนที่ลาดยางแล้วควรเข้ามาซ้อมแซมให้ใช้งานได้อย่างสม่ำเสมอ และควรมีการส่งเสริม ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและสร้างจิตสำนึกให้รักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8264
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_128299.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.31 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons