Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8269
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเฉลิมพงศ์ มีสมนัย, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสุรพันธ์ พรหมประสิทธิ์, 2527-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-07-27T03:10:05Z-
dc.date.available2023-07-27T03:10:05Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8269-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นต่อปัจจัยในการตัดสินใจของข้าราชการสังกัดอื่นในการโอนย้ายมายังกรมที่ดิน (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อปัจจัยในการตัดสินใจของข้าราชการสังกัดอื่นในการโอนย้ายมายังกรมที่ดิน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) เสนอแนะแนวทางในการสร้างและพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการสังกัดอื่นที่โอนย้ายมายังในกรมที่ดิน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือข้าราชการสังกัดอื่นที่โอนย้ายมายังกรมที่ดินทั้งหมด ตั้งแต่ 11 ธันวาคม 2551 ถึง ปี 2554 จำนวน 137 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า (1) ข้าราชการสังกัดอื่นซึ่งโอนย้ายมายังกรมที่ดินมีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยต่าง ๆ ในการตัดสินใจโอนย้ายมายังกรมที่ดินโดยรวมอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยในการโอนย้ายมายังกรมที่ดิน โดยเรียงตามลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ ด้านการยอมรับนับถือ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านลักษณะของงาน ด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน และในระดับปานกลางคือด้านความก้าวหน้า และด้านค่าตอบแทนและผลประโยชน์เกื้อกูล (2) ข้าราชการจากสังกัดอื่นที่โอนย้ายมายังกรมที่ดินที่มีระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และประเภทของข้าราชการในสังกัดเดิมแตกต่างกันมีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยในการตัดสินใจโอนย้าย มายังกรมที่ดินแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับ 0.05 สำหรับข้าราชการสังกัดอื่นที่โอนย้ายมายังกรมที่ดินที่ต่างเพศอายุและรายได้ต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยในการตัดสินใจของข้าราชการสังกัดอื่นในการโอนย้ายมายังกรมที่ดินไม่ต่างกัน 3) แนวทางในการสร้างและพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการสังกัดอื่นที่โอนย้ายมายังกรมที่ดิน ได้แก่ ควรเปิดโอกาสให้แก่ข้าราชการซึ่งโอนย้ายมาจากส่วนราชการอื่น ได้มีโอกาส ฝึกอบรมพัฒนา ทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานเพื่อความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่มากยิ่งขึ้น ด้านค่าตอบแทน และสวัสดิการก็ควรพัฒนา และเพิ่มสวัสดิการให้มีความครอบคลุมเหมาะสมกับข้าราชการในทุกระดับ และทุกพื้นที่th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectข้าราชการ--การย้ายth_TH
dc.titleความคิดเห็นต่อปัจจัยในการตัดสินใจของข้าราชการสังกัดอื่นในการโอนย้ายมายังกรมที่ดินth_TH
dc.title.alternativeSubordinated officials's opinion for their decision in transfer to the Department of Landsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe research of objectives were to (1) the study Opinions on Factors in the decisions of subordinate officials in the transfer to The Department of Lands .(2) to comparison are the decisions of subordinate officials in the transfer to The Department of Lands by personal factors. (3) suggest the creation and development of motivation in the performance of the officials of the Department of Lands. The research is the quantitative research, The population of officials, which transferred to the Department of Lands since December 11, 2551 to the year 2554 of 137 people. The instrument was a questionnaire The statistics used for analyzing the collecteddata were Frequency, percentage,mean, standard deviation and analysis of variance. Research findings indicated that (1) The level of factors in the decisions of subordinate officials in the tranfer to Department of Lands were at the high level In the following order , recognition,work condition ,characteristics , hierarchical administration, policy and management , interpersonal relation and the aspects of job promotion and salary were at the moderate levels. (2) The officials, which transferred to the Department of Lands. education level, year of work and under the category of civil servants. The different level of factors in the decisions of subordinate officials in the tranfer to The Department of Lands were statistically significant at the 0.05 level. For another the officials, which transferred to the Department of Lands. Sex, age and income differences. Not different level of factors in the decisions of subordinate officials in the tranfer to The Department Lands . (3) To create and develop incentives for the officials, which transferred to the Department of Lands; Should include the path to progress. Are clearly covered in every position. And outreach throughout the officials acknowledge. Compensation and benefits, it should be conducted to provide coverage for civil servants at all levels. And all areasen_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_128345.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.49 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons