Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8287
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปฏิบัติ : ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่
Other Titles: Factor influencing the successful implementation of good governance : a case study of Sub-district Administrative Organization in Lumtub District, Krabi Province
Authors: รังสรรค์ ประเสริฐศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรรณรายณ์ เวณุผล, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การบริหารรัฐกิจ--ส่วนภูมิภาค
ธรรมรัฐ
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความสำเร็จของการนำหลักการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติในองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติในการบริหารองค์การส่วนตำบลในอำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ และ (3) เสนอแนะแนวทางการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลตามหลักการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตพบลในอำเภอลำทับ จังหวัด กระบี่ จำนวนทั้งสิ้น 126 คน โดยศึกษาประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความสำเร็จของการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติของแต่ละองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ มีค่าต่ำกว่าร้อยละ 70 ส่วนระดับความสำเร็จของ การนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติของแต่ละองค์การบริหารส่วนตำบล มีความแตกต่างกัน (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติในองค์การบริหาร ส่วนตำบลในอำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ คือ กลุ่มตัวแปรด้านบุคคล ได้แก่ ปัจจัยจูงใจและปัจจัยด้านกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม ค่านิยมใหม่ของข้าราชการ “I AM READY” โดยสามารถอธิบายความผันแปรของตัวแปรตามได้ ร้อยละ 81 และ (3) ข้อเสนอแนะพบวา ประชากรส่วนใหญ่เห็นควรให้ผลักดันการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมือง ที่ดีไปปฏิบัติ อย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การวางแผน การนำไปสู่การปฏิบัติและติดตามประเมินผล โดยมีการนำมาปรับปรุงแก้ไขให้มีความเหมาะสมแก่องค์กร และควรมุ่งสร้างทัศนคติที่ดีให้แก่บุคลากรในการปรับเปลี่ยน กระบวนทัศน์ในการทำงาน การส่งเสริมการทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วมในการทำงาน และการใช้หลักประชาธิปไตย การสร้างภาวะผู้นำและผู้ตามในองค์การบริหารส่วนตำบล ตลอดจนจัดกิจกรรมจูงใจเพื่อ เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้แก่บุคลากร อันจะนำมาซึ่งความสำเร็จในการบริหารงานตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของหน่วยงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8287
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_125007.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.89 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons