Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8297
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ฐาปนา ฉิ่นไพศาล | th_TH |
dc.contributor.author | มัชฌพร ศิริทรัพย์, 2514- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-07-27T08:01:01Z | - |
dc.date.available | 2023-07-27T08:01:01Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8297 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องการแปลงสินทรัพเป็นหลักทรัพย์ในประเทศไทย มีวัถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงลักษณะของการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ในประเทศไทย 2) ศึกษาถึงกระบวนการในการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ และ 3) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ผู้ลงทุนควรพิจารณาในการลงทุนในหุ้นกายใต้การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์วิธีการศึกษาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ เป็นการศึกษาในเชิงพรรณนา โตยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิต่าง ๆ ได้แก่ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย บทความทางวิชาการ เอกสารประกอบการสัมมนา ตำราวิชาการ ข้อมูลจากระบบอิเลดทรอนิคส์ ในส่วนของขอบเขตด้านระยะเวลาของข้อมูลที่เกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ เป็นการรวบรวมข้อมูลหุ้นกู้ที่ออกในระหว่างปี 2547 ถึง เดือนกันยายน 2550 มาเป็นแนวทางประกอบการศึกษา การเปรียบเทียบและวิเคราะห์ข้อมูลผลการศึกษา พบว่า 1) การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นการออกภายใต้พระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 โดยสินทรัพย์ที่นำมาแปลงเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำ เช่น ถูกหนี้เช่าซื้อรถยนต์เป็นต้น ซึ่งสินทรัพย์ที่นำมาแปลงต้องมีกระแสเงินสดรายรับในอนาคตที่แน่นอน จากการรวบรวมข้อมูลของตราสารประเภทนี้ ตั้งแต่ปี 2347 ถึง เดือนกันยายน 2550 มูลค่าคงค้างมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ยังเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าคงค้างของตราสารหนี้ภาค เอกชน โดยคิดเป็นร้อยละ 5.96 โดยได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืงที่ระดับสูงสุดหรือ "AAA" คิดเป็น 97.62% 2) กระบวนการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ผู้จำหน่ายสินทรัพย์จะรวบรวมกลุ่มลูกหนี้ของตน แล้วจำหน่ายกลุ่มลูกหนี้เหล่านี้ให้แก่นิติบุคคลเฉพาะกิจ เพื่อที่นิติบุคคลเฉพาะกิจจะนำไปแปลงเป็นหลักทรัพย์เพื่อเสนอขายต่อผู้ลงทุน โดยก่อนการเสนอขายต้องให้สถาบันจัดอันดับความนำเชื่อถือประเมินความเสี่ยงและคุณภาพความนำเชื่อถือของกลุ่มถูกหนี้ที่นำมาแปลงเป็นหลักทรัพย์ก่อน 3) ปัจจัยที่ผู้ลงทุนควรพิจารณาในการลงทุน ได้แก่ ความเสี่ยงจาก การลงทุนใน Securitization " ซึ่งผู้ลงทุนต้องพิจารณาถึงความเพียงพอของการเพิ่มคุณภาพความน่าเชื่อถือของตราสาร ความเสี่ยงจากการไม่ใด้รับชำระเงินต้น ความเสี่ยงจากการที่รายรับจากสิทธิเรียกร้องที่ผู้จำหน่ายสินทรัพย์ทำหน้าที่เป็นตัวแทนเรียกเก็บหนี้ อาจปะปนอยู่กับรายรับของผู้จำหน่ายสินทรัพย์เอง ความเสี่ยงจากการบริหารกระแสรายให้จากสิทธิเรียกร้องให้เพียงพอต่อการชำระหนี้ เพราะผู้ถือตราสาร Securitizaion จะไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ออกตราสารหนี้ชำระหนี้ที่เหลือได้อีก นอกจากนี้คุณภาพของสินทรัพย์ที่นำมาแปลง รวมทั้งการจัดสรรกระแสเงินคืนให้แก่ผู้ถือตราสารหนี้ก็เป็นสิ่งที่ผู้ลงทุนควรพิจารณา ในส่วนของผลิตผลตอบแทนจากการลงทุนนั้น มีองค์ประคอบที่สำคัญที่มีผลต่ออัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ ประกอบด้วย อัตราเงินเฟ้อ ความเสี่ยงที่อาจจะไม่ได้รับชำระคืน อายุของตราสาร อันดับความนำเชื่อถือ สภาพคล่องในการซื้อขาย ซึ่งอัตราผลตอบแทนของ Securitizatiion ก็เช่นกัน ถูกกำหนดจากอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลที่มีอายุเฉลี่ยใกล้เคียงกับตราสารหนี้ และอัตราผลตอบแทนที่ชดเชยสำหรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งความเสียงที่อาจจะได้รับชำระคืนก่อนกำหนด ซึ่งจะทำให้เงินที่นำไปลงทุนต่ออาจได้รับผลตอบแทนลดลง จากการศึกษาพบว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นกู้ที่อายุใกล้เคียงกัน และอันดับความน่าเชื่อถือระดับเดียวกัน หุ้นกู้ Securitization ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าหุ้นกู้ทั่วไป นอกจากนี้นักลงทุนควรพิจารณาถึงสภาพคล่องในตลาดรองของ Securitization ซึ่งสภาพคล่องในปัจจุบันของหุ้นกู้ภายใต้การแปลงสินทรัพย์ เป็นหลักทรัพย์ยังคงมีสภาพคล่องค่อนข้างต่ำ ซึ่งอาจเกิดจากการที่โครงสร้างของตราสารประเภทนี้มีความซับซ้อนมากกว่าหุ้นกู้ทั่ว ๆ ไป แต่ทั้งนี้ แนวโน้มยังเป็นไปในทิศทางที่ดีการเติบโตยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2547 - เดือนกันยายน 2550 มีสัดส่วนมูลค่าคงค้างเมื่อเปรียบเทียบกับหุ้นกู้ภาคเอกชน คิดเป็นร้อยละ 0.58% 3.71%. 5.94% และ 5.96% ตามลำดับ | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Reformatted digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | การแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน--ไทย | th_TH |
dc.subject | หลักทรัพย์ | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ | th_TH |
dc.title | การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ในประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Securitization in Thailand | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาวิทยาการจัดการ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_112705.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License