กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8301
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาและอุปสรรค์ในการพัฒนาแรงงานต่างด้าว : กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Problems and obstacles in foreign labor development : a case study of Samutsakron Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ณรงค์ศักดิ์ บุญเลิศ มะลิวัลย์ มีฉวี, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี แรงงานต่างด้าว--ไทย การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาปัญหาของกลุ่มแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร (2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการทำงานของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มีผลต่อการพัฒนาแรงงานต่างด้าว (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางพัฒนากลุ่มแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นายจ้างในกิจการประเภทประมงต่อเนื่องประมง เกษตรและปศุสัตว์ ที่มีการจ้างแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 319 คน โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระดับปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบไคสแควร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนายจ้างผู้ประกอบการในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 20 ล้านบาท มีสถานภาพกิจการเป็นเจ้าของคนเดียว มีจำนวนพนักงานในบริษัทไม่เกิน 300 คน เป็นกิจการต่อเนื่องการประมง การประมง และมีการจ้างแรงงานต่างต้าวไม่เกิน 300 คน แรงงานต่างด้าวที่จ้างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ายุเฉลี่ย 19-30 ปี สัญชาติพม่า ลักษณะการจ้างเป็นลูกจ้างรายวัน โดยมีอายุงานประมาณ 1-5 ปี การทดสอบสมมติฐานพบว่า แรงงานต่างด้าวที่มีอายุและเพศที่ต่างกัน มีปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาแรงานต่างด้าวต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 (2) ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาแรงงานต่างด้าวจังหวัดสมุทรสาครในด้านนโยบายภาครัฐในภาพรวมระดับปานกลาง ( X = 2.74) พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่านโยบายการต่อใบอนุญาตทำงานมีปัญหาและอุปสรรคเป็นอันดับหนึ่ง ( X = 3.12) รองลงไปเป็นด้านนโยบายการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว ( X = 2.90) (3) สำหรับทางต้านภาคเอกชน กิจการประเภทประมงมีปัญหาและอุปสรรในการพัฒนาแรงงานต่างต้าวเป็นอันดับหนึ่ง ร้อยละ 52.98 ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อำเภอเมือง แต่การศึกษาในด้านค่าตอบแทนและลักษณะการจ้างไม่เป็นปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8301 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_112707.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.58 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License