Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8331
Title: ปัญหาการใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะตามกฎหมายการชุมนุมสาธารณะ
Other Titles: Problems with rights and liberties to hold public gatherings under the public assembly laws
Authors: ธีรเดช มโนลีหกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
กรภัทร นามรักษ์กิตติ, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
สิทธิการชุมนุม
พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่องปัญหาการใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะตามกฎหมายการชุมนุมสาธารณะ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย แนวความคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุม รวมทั้งวิเคราะห์เปรียบเทียบในรูปแบบ ขั้นตอน และวิธีการชุมนุม โดยแบ่งการวิเคราะห์เปรียบเทียบออกเป็นทั้งหมด 8 ประเด็น คือ บุคคลผู้รับผิดชอบในการชุมนุมสาธารณะการกําหนดพื้นที่ในการชุมนุม คณะกรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับการชุมนุม ระยะเวลาในการทําหนังสือแจ้งการชุมนุมต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบการให้ศาลยุติธรรมเป็นผู้ออกคําสั่งบังคับให้เลิกการชุมนุม การห้ามไม่ให้มีการขัดขวางการชุมนุมโดยประชาชนกลุ่มอื่น การคุ้มครองสถานที่พํานักอันก่อให้เกิดความเสียหายจากการชุมนุม และบทลงโทษทางอาญาของการฝ่าฝืนบทบัญญัติการชุมนุมสาธารณะของต่างประเทศ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไข หรือ บัญญัติกฎหมายที่เหมาะสมดังกล่าวต่อไป การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการรวบรวมการศึกษาจากเอกสารประกอบด้วย เอกสารที่เกี่ยวข้องทางวิชาการ ตํารา หนังสือ บทความ รายงานการวิจัย รายงานวิชาการต่าง ๆ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ บทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จากนั้นนํามาศึกษาเรียบเรียงแล้ววิเคราะห์อย่างเป็นระบบ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปรับปรุง หรือบัญญัติกฎหมายขึ้นมาใหม่ เพื่อให้สามารถคุ้มครองผู้เข้าร่วมชุมนุมและไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุมรวมถึงความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้อย่างเหมาะสม ผลการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะพุทธศักราช 2558 ของไทยในปัจจุบันไม่ได้มีการบัญญัติกฎหมายครอบคลุมถึงการคุ้มครองผู้ชุมนุม สถานที่ชุมนุม รวมถึงการกำหนดบทลงโทษไว้โดยชัดแจ้ง ก่อให้เกิดช่องว่างของกฎหมาย ทําให้ศาลไม่สามารถลงโทษแก่ผู้กระทําผิดให้รับโทษได้ซึ่งกฎหมายการชุมนุมของสาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐเกาหลีได้มีการบัญญัติให้มีการคุ้มครองผู้ชุมนุม สถานที่ชุมนุม รวมถึงการกําหนดบทลงโทษไว้โดยชัดแจ้ง ซึ่งผู้ศึกษาได้เสนอแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พุทธศักราช 2558 ทั้งหมด 8 ประเด็น โดยแก้ไขการนิยามผู้จัดการชุมนุมไม่ควร รวมถึงผู้ที่เชิญชวนหรือนัดให้ผู้อื่นมาร่วมชุมนุมด้วย การกำหนดพื้นที่ขอบเขตในการชุมนุมควรห้ามการชุมนุมที่จะทําบนทางสาธารณะที่จะก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองเท่านั้น ควรให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับการชุมนุมระยะเวลาในการทําหนังสือแจ้งการชุมนุมต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐควรแจ้งไม่น้อยกวา 48 ชั่วโมง ควรให้ศาลปกครองเป็นผู้ออกคําสั่งบังคับให้เลิกการชุมนุมแทนศาลยุติธรรม ควรมีการบัญญัติกฎหมายเพิ่มเติมในเรื่องของการขัดขวางการชุมนุม การคุ้มครองสถานที่อันก่อให้เกิดความเสียหายจากการชุมนุม และบทลงโทษทางอาญาของการฝ่าฝืนบทบัญญัติการชุมนุมด้วย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8331
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.69 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons