Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8359
Title: | พฤติกรรมการซื้อที่นอนยางพาราของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงราย |
Other Titles: | Buying behavior of latex mattresses' consumers in Chiang Rai Province |
Authors: | ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร อารีย์ พริ้งงามเด่น, 2514- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด--การศึกษาเฉพาะกรณี เครื่องเรือน พฤติกรรมผู้บริโภค การศึกษาอิสระ--การตลาด |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงราย (2) พฤติกรรมการซื้อที่นอนของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงราย (3) ระดับความสำคัญของส่วนประสมการตลาดที่มีต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อที่นอนของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงราย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือ ประชากรผู้ที่เคยซื้อที่นอนในจังหวัดเชียงราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากประชากรไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน โดยใช้ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 จำนวน 400 ราย เลือกตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31–40 ปี รายได้ เฉลี่ยต่อเดือน 15,000-25,000 บาท การศึกษาปริญญาตรี/เทียบเท่า จำนวนสมาชิกในครอบครัว 4 คน ลักษณะที่อยู่อาศัยบ้านเดี่ยวชั้นเดี่ยว (2) พฤติกรรมการซื้อที่นอนของผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นที่นอนสปริง เคยใช้ที่นอนยี่ห้อซาติน มีวัตถุประสงค์ซื้อที่นอน นอนหลับสบายไม่ยุบตัว ไม่ปวดเอว ปวดหลัง จะซื้อที่นอนยี่ห้อใหม่ โดยตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง โอกาสที่ซื้อ 4 ปี ขึ้นไป ซื้อในระดับราคา 5,001-10,000 บาท ซื้อจากร้านขายเฟอร์นิเจอร์ มีการเปรียบเทียบราคาสินค้าก่อนซื้อ ทราบข้อมูลจากแผ่นพับของร้านจำหน่ายมีการต่อรองสินค้า และชำระเงินด้วยเงินสด (3) ระดับความสำคัญของส่วนประสมการตลาดที่มีต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อที่นอนยางพารา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านราคาอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ ด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8359 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_151754.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License