กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/835
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมบริการงานผู้ป่วยนอกจักษุ โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) โดยใช้ระบบการคิดต้นทุนกิจกรรม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A cost analysis of service activities of ophthalmology out-patient unit in Mettapracharuk Hospital by using activity-based costing system
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พาณี สีตกะลิน
นัฏฐินี แก้วกาสี, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ทองหล่อ เดชไทย
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์. งานผู้ป่วยนอกจักษุ--ค่าใช้จ่าย
บริการการพยาบาล--ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยต้นทุนกิจกรรมบริการของงานผู้ป่วยนอกจักษุโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดโร่ขิง) โดยใช้ระบบการคิดต้นทุนกิจกรรม โดยจำแนกเป็นกิจกรรมบริการทางตรงและกิจกรรมบริการทางล้อม เก็บข้อมูลในระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2549 ประชากร คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานและผู้รับบริการในหน่วยงานผู้ป่วยนอกจักษุ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 เป็นพจนานุกรมกิจกรรมบริการของงานผู้ป่วยนอกจักษุ ชุดที่ 2 เป็นแบบบันทึกข้อมูลจำนวน 6 แบบฟอร์ม ได้แก่ 1) แบบบันทึกปริมาณกิจกรรม 2) แบบบันทึกเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรม 3) แบบบันทึกต้นทุนค่าวัสดุ 4) แบบบันทึกต้นทุนค่าเสื่อมราคาครุภัณฑ์ 5) แบบบันทึกต้นทุนค่าสาธารณูปโภค 6) แบบบันทึกต้นทุนค่าแรง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและร้อยละ ผลการศึกษาพบว่างานผู้ป่วยนอกจักษุมีกิจกรรมบริการทั้งหมด 68 กิจกรรม แบ่งเป็นกิจกรรมบริการทางตรง 52 กิจกรรม และกิจกรรมบริการทางอ้อม 16 กิจกรรม ต้นทุนรวมของกิจกรรมบริการ งานผู้ป่วยนอกจักษุ โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์เท่ากับ 4,141,102.71 บาท โดยที่กิจกรรม ทางตรงเกี่ยวกับการฉีดสีถ่ายภาพจอประสาทตามีต้นทุนต่อหน่วยกิจกรรมมากที่สุด เท่ากับ 898.47 บาทต่อครั้ง และกิจกรรมการระบุตัวผู้ป่วยเก่ามีค่าเฉลี่ยต้นทุนต่อหน่วยกิจกรรมน้อยที่สุด เท่ากับ 4.20 บาทต่อครั้ง ส่วนกิจกรรมบริการทางล้อมเกี่ยวกับการจัดตารางเวรมีค่าเฉลี่ยต้นทุนต่อหน่วยกิจกรรมมากที่สุด คือ เท่ากับ 362.81 บาทต่อครั้ง กิจกรรมการประสานก่อนส่งผู้ป่วยไปตึกผู้ป่วยใน (admit) มีค่าเฉลี่ยต้นทุนต่อหน่วยกิจกรรมน้อยทึ่สุดเท่ากับ 12.09 บาทต่อครั้ง ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้คือการจัดบริการผู้ป่วย ทุกประเภทจะต้องให้บริการทั้งกิจกรรมทางตรงและกิจกรรมทางอ้อมควบคู่กันไป ในขณะที่อัตราการเรียกเก็บค่าบริการตามที่รัฐกำหนดให้เรียก เก็บได้เฉพาะกิจกรรมทางตรงเพียงบางรายการเท่านี้น ซึ่งเงินที่ได้รับไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง จึงส่งผลให้งบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอต่อการจัดบริการที่เกิดขึ้นจริงในผู้ป่วยแต่ละราย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/835
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
97316.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons