Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8370
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจีระ ประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorอรุณรัตน์ สว่าง, 2523-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-08-02T13:17:15Z-
dc.date.available2023-08-02T13:17:15Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8370-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินผลการดำเนินงานของเทศบาลตำบลเวียงฝาง อำเภอ ฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ใน 4 ด้าน คือ ด้านการเงิน ด้านกระบวนการภายในองค์การ ด้านประชาชนผู้รับบริการ และ ด้านการเรียนรู้และพัฒนาองค์การ (2) ศึกษาปัญหาการบริหารงานของเทศบาลตำบลเวียงฝาง (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของเทศบาลตำบลเวียงฝาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ประชากร คือ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในเทศบาลตำบลเวียงฝาง จำนวน 30 คนและ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 5 หมู่บ้าน มีผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 5,462 คน กลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนผู้มีสิทธิ เลือกตั้ง จำนวน 372 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินการปฏิบัติงาน แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา โดยการ วิเคราะห์สรุปและวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากเอกสารและการสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) ผลการปฏิบัติงานด้านการเงิน เทศบาลตำบลเวียงฝางมีรายรับมากกว่า รายจ่ายทุกปีงบประมาณ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2552-2555 โดยรายรับที่สูงกว่ารายจ่ายเกิดจากเงินอุดหนุนจาก ภาครัฐ ด้านกระบวนการภายในองค์การ มีเกณฑ์การดำเนินงานได้คะแนนร้อยละ 77.96 อยู่ในระดับดี ด้านประชาชนผู้รับบริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการที่มีต่อเทศบาลตำบลเวียงฝางอยู่ในระดับมาก ด้านการเรียนรู้และพัฒนาองค์การ พบว่า เทศบาลตำบลเวียงฝางมีการพัฒนาบุคลากรเพิ่มความรู้และทักษะในการปฏิบัติหน้าที่ในระดับดี (2) ปัญหาของการดำเนินงาน ปัญหาด้านการเงิน รายได้ที่จัดเก็บไม่เพียงพอต่อการพัฒนาท้องถิ่นตามแผนพัฒนาให้ครบทุกโครงการ ปัญหาด้านกระบวนการภายในองค์การ การวางแผนโครงการไม่สมดุลกับขีดความสามารถของเทศบาล ทำให้ไม่สามารถดำเนินโครงการได้ครบถ้วนตามแผน ปัญหาด้านประชาชน ผู้รับบริการ ประชาชนยังขาดความเข้าใจในบทบาทอำนาจหน้าที่ของเทศบาล ปัญหาด้านการเรียนรู้และพัฒนา องค์การ ขวัญและกำลังใจมีผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาล (3) ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาด้าน การเงิน เทศบาลควรมีการวางแผนการใช้จ่ายให้ตรงตามความจำเป็นเร่งด่วนของท้องถิ่น ด้านกระบวนการภายในองค์การ เทศบาลควรมีการระดมความคิดเห็นจากประชาชน เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนา โดยคำนึงถึงศักยภาพเทศบาลอย่างแท้จริง ด้านประชาชนผู้รับบริการ เทศบาลควรมีการประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจกับ ประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของเทศบาล ด้านการเรียนรู้และพัฒนาองค์การ เทศบาลควรมีการเพิ่มขีด ความสามารถของบุคลากรอยู่เสมอ โดยจัดให้มีการฝึกอบรมหรือฝึกทักษะ ตลอดจนดูแลงบประมาณในด้านวัสดุ อุปกรณ์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการประชาชนth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectเทศบาลตำบลเวียงฝาง--การบริหารth_TH
dc.subjectการประเมินผลงานth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจth_TH
dc.titleการประเมินผลการดำเนินงานของเทศบาลตำบลเวียงฝาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่th_TH
dc.title.alternativeAn evaluation of Wiang-fang Sub-district Municipality Fang District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to (1) evaluate the performance of Wiang-fang Sub-district Municipality, Fang District, Chiang Mai Province, in four aspects which were financial, internal process, public service recipients and learning and development aspects (2) study administrative problems of Wiang-fang Sub-district Municipality, Fang District, Chiang Mai Province (3) recommend appropriate approaches to solve operational problems of Wiang-fang Sub-district Municipality, Fang District, Chiang Mai Province. Population consisted of 30 officers from Wiang-fang Sub-district Municipality and 5,462 eligible voters from 5 villages in Sub-district of Wiang. Samples were 372 eligible voters derived from Yamane’s formula. The data was collected through performance appraisal form, interview and questionnaire. Analysis of data was completed with Content Analysis, Analytic Induction and Constant Comparison of collecting information from the paperwork and interview. Descriptive statistics used comprised mean, percentage and standard deviation. The study revealed as followings: (1) on financial performance, revenues of Wiang-fang Sub-district Municipality were over expenditures each fiscal year since 2009 to 2012. This was a result of government subsidization; on internal process; the result was 77.96 percent achievement (good level); on service recipients’ satisfaction; the satisfaction level was at high level; on learning and development: knowledge and operational skills of personnel were strengthened at good level (2) as for administrative obstacles: It was found that municipality revenues were not sufficient to complete all projects of local development plan; on internal process, project planning did not match with the organization capability resulting in the inability to complete all projects as planned; on service recipients: local people in Wiang-fang Sub-district area did not realize the organization’s roles and responsibilities; on learning and development: moral affected personnel performance (3) recommendations were: municipality should plan its expenditures according to local necessities, on internal process: the organization should call for public opinions concerning development approach based on organization potential; on service recipients, the municipality should conduct public relations activities so to increase people understanding on the organization’s roles and responsibilities; on learning and development: the municipality should regularly increase personnel capability through training of knowledge and operational skills, also, budget in material and equipment should be taken cared of so to expand public service potential of the organizationen_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_134753.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.24 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons