กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8378
ชื่อเรื่อง: ความพร้อมในการบริหารจัดการต่อการนำระบบบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์มาใช้ในกองทัพเรือ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Readiness of management for the implementation of result-based management in Royal Thai Navy
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุมพล หนิมพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
สัมนา พุดตาล, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
กองทัพเรือ -- การบริหาร
สัมฤทธิผลขององค์การ
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง ความพร้อมในการบริหารจัดการต่อการนำระบบบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์มาใช้ในกองทัพเรือมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพร้อมของส่วนงานต่าง ๆ ในการบริหารจัดการต่อการนำระบบบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์มาใช้ในกองทัพเรือ 2) เพื่อศึกษาถึงตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมในการบริหารจัดการต่อการนำระบบบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์มาใช้ในกองทัพเรือ 3) เพื่อศึกษาถึงปัญหาอุปสรรค ในการบริหารจัดการต่อการนำระบบบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์มาใซ้ในกองทัพเรือ 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขและพัฒนาการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์มาใช้ในกองทัพเรือการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยสุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการกองทัพเรือจำนวน 2 กลุ่ม คือนายทหารสัญญาบัตร และนายทหารประทวนโดยกำหนดตัวอย่างตามสูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 390 คน และสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่จากส่วนงานของกองทัพเรือ 4 ส่วน ๆ ละ 3 คน รวม 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยนำมาวิเคราะห์ข้อมูล และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสถิติ เอฟเทส การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพร้อมในการบริหารจัดการต่อการนำระบบบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์มาใช้ในกองทัพเรือของส่วนงานต่าง ๆ มีความพร้อมที่ไม่แตกต่างกัน 2) การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามพบว่ามีตัวแปรอิสระจำนวน 7 ตัวแปร ได้แก่ ความรับผิดชอบ การประเมินผล การจัดองค์การ การมีส่วนร่วม ความชัดเจนของนโยบาย เทคโนโลยีสารสนเทศ และการติดต่อสื่อสาร สามารถอธิบายความผันแปรความพร้อมในการบริหารงานมุ่งผลสัมฤทธิ์มาใช้ในกองทัพเรือได้ โดยภาพรวมแล้วสามารถอธิบายตัวแปรตามได้ ร้อยละ 63.97 ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05 3) ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ คือ บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน ขาดการมีส่วนร่วมระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ ขาดระบบสารสนเทศข้อเสนอแนะในการวิจัยด้านความรับผิดชอบ ให้นำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหาร รวมทั้งนำหลักของ I AM READY มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ด้านการประเมินผลให้มีการประเมินผลทุกขั้นตอน ในกรม กอง แผนก รวมทั้งบุคลากรทุกคนในหน่วยงาน ด้านการจัดองค์การ ให้มีการปรับปรุง กฎ ระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับ ให้มีความยืดหยุ่นและทันสมัย รวมถึงการมอบอำนาจหน้าที่ให้เด่นชัดเพื่อสามารถตัดสินใจได้อย่าง รวดเร็ว ทันเวลา และควรมีการจัดองค์การบางส่วนสำหรับผู้ปฏิบัติเป็นแนวนอน เพื่อสามารถประสานงาน และเปรียบเทียบงานกันได้อย่างต่อเนื่อง ด้านการมีส่วนร่วม ให้มีการส่วนร่วมระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติในการร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ ร่วมประเมินผล รวมทั้งจัดทั้งทีมงานในการดำเนินงาน ด้านความชัดเจนของนโยบายสามารถแปลงนโยบายไปเป็นแผน แผนงานและโครงการ ได้อย่างชัดเจน สะดวกต่อการปฏิบัติ ด้านสารสนเทศให้มีระบบสารสนเทศอย่างทั่วถึง มีฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบันสามารถตัดสินใจได้ ด้านการติดต่อสื่อสารมีการสื่อสารทั่วทั้งองค์การและมีการประชาสัมพันธ์ให้ทราบข้อมูลข่าวสาร
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8378
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
99023.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons