Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/837
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรทิพย์ เกยุรานนท์ | th_TH |
dc.contributor.author | นาตยา มีสุข, 2508- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-08-20T07:05:44Z | - |
dc.date.available | 2022-08-20T07:05:44Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/837 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารเครือข่ายประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับอำเภอในเขต 6 (2) เปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารเครือข่ายประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับอำเภอในแต่ละจังหวัดในเขต 6 (3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการบริหารเครือข่ายประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับอำเภอในเขต 6 ประชากรที่ศึกษา คือ ประธานกรรมการ กรรมการที่เป็นตัวแทนมาจากโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอและสถานีอนามัยและเลขานุการคณะกรรมการบริหารเครือข่ายประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับอำเภอในเขต 6 โดยกลุ่มประธานและเลขานุการใช้ประชากรทั้งหมดจาก 42 เครือข่าย ส่วนกลุ่มกรรมการที่เป็นตัวแทนใช้ตัวอย่างจำนวน 126 คน ที่เลือกโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่ายประเภทละ 1 คน ต่อเครือข่าย จำนวน 42 เครือข่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยง 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารเครือข่ายประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับอำเภอในเขต 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า สภาพการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารเครือข่ายประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับอำเภอในเขต 6 แต่ละด้านอยู่ในระดับดี ยกเว้น ด้านการบริหารจัดการ ด้านบรรยากาศในการทำงาน และด้านการประชุม ที่อยู่ในระดับพอใช้ (2) สภาพการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารเครือข่ายประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับอำเภอในแต่ละจังหวัด ในเขต 6 ทั้งในภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน (3) ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานที่พบ ได้แก่ปัญหาด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคลด้านการพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาคุณภาพการบริการและด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ โดยให้ข้อเสนอแนะว่า ควรมีนโยบายด้านงบประมาณที่ชัดเจนและจัดสรรงบประมาณให้มากขึ้น ควร สนับสนุนบุคลากรให้แก่พื้นที่ขาดแคลนและมีผู้รับผิดชอบในการบริหารบุคคลอย่างชัดเจน ควรมีการกำหนดสมรรถนะและการพัฒนาบุคลากรอย่างชัดเจน ควรกำหนดทิศทางและแผนพัฒนาคุณภาพการบริการให้ชัดเจน ควรมีการจัดหาและกระจายเครื่องมือและอุปกรณ์ให้แก่เครือข่ายอย่างเพียงพอในการใหบริการ จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า คณะกรรมการบริหารเครือข่ายประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับอำเภอ ควรมีการสนับสนุนในด้านงบประมาณ บุคลากร เครื่องมือและอุปกรณ์ให้กับเครือข่ายอย่างเพียงพอในการดำเนินงาน และควรมีการบริหารจัดการเครือข่ายที่ดี มีการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานและการประชุมของคณะกรรมการเครือข่ายให้มากขึ้น | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Reformatted digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | คณะกรรมการบริหารเครือข่ายประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับอำเภอในเขต 6--ภาระงาน | th_TH |
dc.subject | หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า--ไทย | th_TH |
dc.title | สภาพการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารเครือข่าย ประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับอำเภอในเขต 6 | th_TH |
dc.title.alternative | The implementation of the district contracting unit of primary care boards in public health regional area sixth | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
dc.degree.name | สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this descriptive research were: (1) to study the implementation of the district Contracting Unit of Primary Care (CUP) boards in Public Health (PH) Regional Area 6lh; (2) to compare the implementation of the district CUP boards in each province in the PH Regional Area 6 to; (3) to study the problems, obstacles, and suggestions of the district CUP boards in the PH Regional Area 6 th. The study population was the chairpersons, the committee members who have been the representatives of the hospitals, district public health offices and the health centers, and the secretaries of the committees in the PH Regional Area 6 to. All chairpersons and the secretaries were included from 42 boards. The committees group consisted of 126 samples which were selected by simple random sampling from the committees, where 1 person of each work setting was selected within 42 boards. The research instrument was a questionnaire with the reliability coefficient value of 0.95. Percentage, mean, standard division and One-Way ANOVA were used to analyze the data. Results of the study show that: (1) The overall of the implementation of the district CUP boards in PH Regional Area 6* was at the good level as well as in certain aspects with an exception in the aspects as management, climate of works and meetings that were at the fair level. (2) The implementation of the district CUP boards in each province in the PH Regional Area 6th revealed no differences in overall and in each aspect. (3) The problems and obstacles of the implementation were the budget management, human resource management, personnel development, service quality improvement, and the equipments and materials. There were suggestions that the district CUP boards should have the clear budget policy, allocate more budget and personnel in lacked area, designate the position for human resource management, establish clear personnel competency description and implementation of personnel development, lay out definite directions and plans for service quality improvement, provide and distribute sufficient equipments and materials for service to the district CUP boards. This research suggests that the district CUP boards should support sufficient budget, personnel, equipments and material for the district CUP boards, have good CUP management, and foster good climate in works and at meetings | en_US |
dc.contributor.coadvisor | วรางคณา ผลประเสริฐ | th_TH |
Appears in Collections: | Health-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License