Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/837
Title: สภาพการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารเครือข่าย ประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับอำเภอในเขต 6
Other Titles: The implementation of the district contracting unit of primary care boards in public health regional area sixth
Authors: พรทิพย์ เกยุรานนท์
นาตยา มีสุข, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วรางคณา ผลประเสริฐ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
คณะกรรมการบริหารเครือข่ายประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับอำเภอในเขต 6--ภาระงาน
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า--ไทย
Issue Date: 2549
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารเครือข่ายประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับอำเภอในเขต 6 (2) เปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารเครือข่ายประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับอำเภอในแต่ละจังหวัดในเขต 6 (3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการบริหารเครือข่ายประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับอำเภอในเขต 6 ประชากรที่ศึกษา คือ ประธานกรรมการ กรรมการที่เป็นตัวแทนมาจากโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอและสถานีอนามัยและเลขานุการคณะกรรมการบริหารเครือข่ายประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับอำเภอในเขต 6 โดยกลุ่มประธานและเลขานุการใช้ประชากรทั้งหมดจาก 42 เครือข่าย ส่วนกลุ่มกรรมการที่เป็นตัวแทนใช้ตัวอย่างจำนวน 126 คน ที่เลือกโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่ายประเภทละ 1 คน ต่อเครือข่าย จำนวน 42 เครือข่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยง 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารเครือข่ายประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับอำเภอในเขต 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า สภาพการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารเครือข่ายประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับอำเภอในเขต 6 แต่ละด้านอยู่ในระดับดี ยกเว้น ด้านการบริหารจัดการ ด้านบรรยากาศในการทำงาน และด้านการประชุม ที่อยู่ในระดับพอใช้ (2) สภาพการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารเครือข่ายประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับอำเภอในแต่ละจังหวัด ในเขต 6 ทั้งในภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน (3) ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานที่พบ ได้แก่ปัญหาด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคลด้านการพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาคุณภาพการบริการและด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ โดยให้ข้อเสนอแนะว่า ควรมีนโยบายด้านงบประมาณที่ชัดเจนและจัดสรรงบประมาณให้มากขึ้น ควร สนับสนุนบุคลากรให้แก่พื้นที่ขาดแคลนและมีผู้รับผิดชอบในการบริหารบุคคลอย่างชัดเจน ควรมีการกำหนดสมรรถนะและการพัฒนาบุคลากรอย่างชัดเจน ควรกำหนดทิศทางและแผนพัฒนาคุณภาพการบริการให้ชัดเจน ควรมีการจัดหาและกระจายเครื่องมือและอุปกรณ์ให้แก่เครือข่ายอย่างเพียงพอในการใหบริการ จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า คณะกรรมการบริหารเครือข่ายประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับอำเภอ ควรมีการสนับสนุนในด้านงบประมาณ บุคลากร เครื่องมือและอุปกรณ์ให้กับเครือข่ายอย่างเพียงพอในการดำเนินงาน และควรมีการบริหารจัดการเครือข่ายที่ดี มีการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานและการประชุมของคณะกรรมการเครือข่ายให้มากขึ้น
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/837
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
96485.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.67 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons