Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8404
Title: การศึกษาสภาพและปัญหาภาษีอากรของกิจการในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
Other Titles: Study of state and tax problems of electronics and electric appliances manufacturing firm in conformity with virtue of the provisions of the investment promotion
Authors: กัลยาณี กิตติจิตต์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อมรรัตน์ ภิญโญอนันตพงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรชร โพธิสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
ดำรงค์ โรจนเมธินทร์, 2496-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ -- ภาษี
ธุรกิจของเอกชน -- ภาษี
Issue Date: 2549
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพของกิจการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (2) ศึกษาปัญหาภาษีอากรและแนวทางแก้ไขของ กิจการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนภายใต้พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 หมวด 5 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่มกิจการ กิจการผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า กิจการผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์กิจการผลิตภัณฑ์ ซอฟค์แวร์และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าที่ เกี่ยวกับสภาพและปัญหาภาษีอากรของกิจการที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและมีการทดสอบความเชื่อมั่นแล้วมี ค่าเท่ากับ 0.7280 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การแจกแจงความถี่ 2 ทาง และการวิเคราะห์เนื้อหาสาระ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า (1) กิจการส่วนใหญ่เป็นบริษัทจำกัดมีระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจนับ ถึงปลายปี 2548 อยู่ระหว่าง 5-10 ปี เป็นกิจการขนาดเล็ก ซึ่งวัดได้จากทุนจะทะเบียนอยู่ระหว่าง 100 - 500 ล้านบาท สินทรัพย์อยู่ระหว่าง 500-1,000 ล้านบาทรายได้รวมอยู่ระหว่าง 100-500 ล้านบาท จำนวนพนักงานลูกจ้างอยู่ระหว่าง 1,001 - 1,500 คน มีถานที่ตั้งอยู่ในเขต 1 ในนิคมอุตสาหกรรม และได้รับใบรับรองมาตรฐาน IS09000 และมีโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและยังคงสิทธิ ประโยชน์ 1-3 โครงการ ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่ไม่ผ่านเกณฑ์การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนด เงื่อนไขของพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนและประมวลรับฎากร (2) โดยภาพรวมกิจการส่วน ใหญ่มีปัญหาภาษีอากร หากพิจารณาเป็นกลุ่ม พบว่า กลุ่มกิจการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและกลุ่มกิจการ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์จะมีปัญหาน้อยเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งกิจการ สามารถแก้ไขปรับปรุงได้ไม่มีผลทางกฎหมาย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8404
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
100916.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.2 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons