Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8417
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorไพเราะ ลุสิตานุสนธิ์, 2506-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-08-04T03:44:32Z-
dc.date.available2023-08-04T03:44:32Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8417en_US
dc.description.abstractการค้นคว้าอิสระนี้กระทำกับพนักงานเจนเนอเรชั้นวาย บริษัท คาสิโอ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมี วัตถุประสงค์ เพื่อ (1) เปรียบเทียบการรับรู้ความสำเร็จในงานตามลักษณะของปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงาน (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจและปัจจัยคํ้าจุนกับการรับรู้ความสำเร็จในงานของพนักงาน (3) ศึกษาปัจจัยจูงใจและปัจจัยคํ้าจุนที่มีผลต่อการรับรู้ความสำเร็จในงานของพนักงาน และ(4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของ ปัจจัยจูงใจและปัจจัยคํ้าจุนต่อการรับรู้ความสำเร็จในงานของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พนักงานเจนเนอเรชั้นวายของบริษัทคาสิโอ (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 270 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจกับการรับรู้ความสำเร็จในงานของพนักงานเจนเนอเรชั้นวาย บริษัทคาสิโอ (ประเทศไทย) จำกัด ที่มีลักษณะเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) พนักงานเจนเนอเรชั้นวายที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านต่อไปนี้แตกต่างกัน ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด สถานภาพสมรส และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานที่บริษัทจนถึงปัจจุบัน มีการรับรู้ ความสำเร็จในงานไม่แตกต่างอย่างกัน ในขณะที่พนักงานที่มี เพศ รายได้ปัจจุบันต่อเดือน และตำแหน่งงานในปัจจุบันต่างกัน มีการรับรู้ความสำเร็จในงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ปัจจัยจูงใจและปัจจัยคํ้าจุน มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความสำเร็จในงานไปในทิศทางเดียวกันในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ปัจจัยจูงใจ ที่มีผลต่อการรับรู้ความสำเร็จในงาน ได้แก่ ความสัมฤทธิ์ผลในการทำงาน การได้รับการยอมรับนับถือ ลักษณะงานที่ปฏิบัติความรับผิดชอบและความก้าวหน้า โดยมีความสัมพันธ์ที่มี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนปัจจัยคํ้าจุนที่มีผลต่อการรับรู้ความสำเร็จในงาน ได้แก่ นโยบายการบริหาร การปกครองบังคับบัญชา ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน สภาพการทำงานและความมั่นคง และผลประโยชน์ตอบแทน โดยมีความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 และ (4) อำนาจพยากรณ์ของปัจจัยจูงใจและปัจจัย คํ้าจุนต่อการรับรู้ความสำเร็จในงานซึ่งพยากรณ์ ได้ร้อยละ 69.65 สมการพยากรณ์การรับรู้ความสำเร็จในงานโดยใช้คะแนนมาตรฐาน คือ การรับรู้ความสำเร็จในงาน = 0.216 (ลักษณะงานที่ปฏิบัติ) + 0.178 (การปกครองบังคับบัญชา)+ 0.199 (ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน )+ 0.164 (นโยบายการบริหาร)+0.131 (ความรับผิดชอบ) + 0.107 (ผลประโยชน์ตอบแทน ) + 0.119 (ความสัมฤทธิ์ผลในการทำงาน)th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectบริษัท คาสิโอ (ประเทศไทย) จำกัด--พนักงานth_TH
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจกับการรับรู้ความสำเร็จในงานของพนักงานเจนเนอเรชั่นวาย บริษัท คาสิโอ (ประเทศไทย) จำกัดth_TH
dc.title.alternativeThe relationship between motivation factors and perception on work achievement of Generation Y employees at the Casio (Thailand) Co., Ltd.th_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent study was conducted with generation Y employees at the Casio (Thailand) Co., Ltd. with the following objectives: (1) to compare perceptions on work achievement of the employees as classified by their personal factors; (2) to study the relationship of the motivation factors and hygiene factors with perception on work acievement of the employees; (3) to study the motivation factors and hygiene factors affecting perception on work achievement of the employees; and (4) to study the predicting power of motivation factors and hygiene factors for prediction of perception on work achievement of the employees. The research sample consisted of 270 generation Y employees of the Casio (Thailand) Co., Ltd., obtained by stratified sampling. The research instument was a questionnaire on the relationship of the motivation factors and hygience factors with motivation on work achievement of generation Y employees of the Casio (Thailand) Co. Ltd., developed by the researcher, with reliability coefficient of .82. Statistics employed for data analysis were the percentage, mean, standad deviation, t-test, one-way analysis of variance, Pearson’s correlation, and multiple regression analysis. Research findings showed that (1) generation Y employees of the Casio (Thailand) Co., Ltd. with different personal factors of age, highest educational level, marital status, and work experience at the company did not significantly differ on their perceptions on work achievement; while the employees with different genders, present monthly incomes, and present work positions differed significantly in their perceptions on work achievement at the .05 level; (2) the motivation factors and hygiene factors correlated at the highly positive level with perception on work acievement, which was significant at the .01 level; (3) the motivation factors affecting perception on work achievement with significant correlations at the .01 level were the work performance achievement, receiving recognition and respect, job characteristics, responsibility, and career advancement; while the hygience factors affecting perception on work achievement with significant correlations at the .01 level were the administration policy, supervision and control, relationship with colleagues, work performance condition and security, and remuneration; and (4) the motivation factors and hygience factors could be combined to predict perception on work achievement with the predicting power of 69.65 per cent; the regression equation for prediction of perception on work achievement in the form of standard score was the following: Z = 0.216ZX(Work characteristics) + 0.178ZX(Supervision and control) + 0.199ZX(Relationship with colleagues) + 0.164ZX(Administration policy) + 0.131ZX(Responsibility) + 0.107ZX(Remuneration) + 0.119ZX(Work performance achievement)en_US
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_140456.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.46 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons