กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8417
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจกับการรับรู้ความสำเร็จในงานของพนักงานเจนเนอเรชั่นวาย บริษัท คาสิโอ (ประเทศไทย) จำกัด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Relationship between motivation factors and perception on work achievement of Generation Y employees at the Casio (Thailand) Co., Ltd. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วัลภา สบายยิ่ง ไพเราะ ลุสิตานุสนธิ์, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา --การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี บริษัท คาสิโอ (ประเทศไทย) จำกัด--พนักงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การค้นคว้าอิสระนี้กระทำกับพนักงานเจนเนอเรชั้นวาย บริษัท คาสิโอ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมี วัตถุประสงค์ เพื่อ (1) เปรียบเทียบการรับรู้ความสำเร็จในงานตามลักษณะของปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงาน (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจและปัจจัยคํ้าจุนกับการรับรู้ความสำเร็จในงานของพนักงาน (3) ศึกษาปัจจัยจูงใจและปัจจัยคํ้าจุนที่มีผลต่อการรับรู้ความสำเร็จในงานของพนักงาน และ(4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของ ปัจจัยจูงใจและปัจจัยคํ้าจุนต่อการรับรู้ความสำเร็จในงานของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พนักงานเจนเนอเรชั้นวายของบริษัทคาสิโอ (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 270 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจกับการรับรู้ความสำเร็จในงานของพนักงานเจนเนอเรชั้นวาย บริษัทคาสิโอ (ประเทศไทย) จำกัด ที่มีลักษณะเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) พนักงานเจนเนอเรชั้นวายที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านต่อไปนี้แตกต่างกัน ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด สถานภาพสมรส และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานที่บริษัทจนถึงปัจจุบัน มีการรับรู้ ความสำเร็จในงานไม่แตกต่างอย่างกัน ในขณะที่พนักงานที่มี เพศ รายได้ปัจจุบันต่อเดือน และตำแหน่งงานในปัจจุบันต่างกัน มีการรับรู้ความสำเร็จในงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ปัจจัยจูงใจและปัจจัยคํ้าจุน มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความสำเร็จในงานไปในทิศทางเดียวกันในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ปัจจัยจูงใจ ที่มีผลต่อการรับรู้ความสำเร็จในงาน ได้แก่ ความสัมฤทธิ์ผลในการทำงาน การได้รับการยอมรับนับถือ ลักษณะงานที่ปฏิบัติความรับผิดชอบและความก้าวหน้า โดยมีความสัมพันธ์ที่มี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนปัจจัยคํ้าจุนที่มีผลต่อการรับรู้ความสำเร็จในงาน ได้แก่ นโยบายการบริหาร การปกครองบังคับบัญชา ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน สภาพการทำงานและความมั่นคง และผลประโยชน์ตอบแทน โดยมีความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 และ (4) อำนาจพยากรณ์ของปัจจัยจูงใจและปัจจัย คํ้าจุนต่อการรับรู้ความสำเร็จในงานซึ่งพยากรณ์ ได้ร้อยละ 69.65 สมการพยากรณ์การรับรู้ความสำเร็จในงานโดยใช้คะแนนมาตรฐาน คือ การรับรู้ความสำเร็จในงาน = 0.216 (ลักษณะงานที่ปฏิบัติ) + 0.178 (การปกครองบังคับบัญชา)+ 0.199 (ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน )+ 0.164 (นโยบายการบริหาร)+0.131 (ความรับผิดชอบ) + 0.107 (ผลประโยชน์ตอบแทน ) + 0.119 (ความสัมฤทธิ์ผลในการทำงาน) |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8417 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_140456.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License