Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8431
Title: | ส่วนประสมการตลาดในการรับบริการสปาเพื่อสุขภาพของประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา |
Other Titles: | Marketing mix to choose spa of population in Amphor Muang Chacheongsao Province |
Authors: | เสาวภา มีถาวรกุล วิรากร ตั้งทองสว่าง, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี ธุรกิจสปา การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | ในการวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคลในการรับบริการ สปาเพื่อสุขภาพของประชากรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา (2) เพื่อศึกษาส่วนประสมการตลาด ในการรับบริการสปาเพื่อสุขภาพของประชากรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลกับส่วนประสมการตลาดในการรับบริการสปาเพื่อสุขภาพของประชากรในเขตอำเภอเมืองโดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือ ประชากรจำนวน 400 คน ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์มีผลการศึกษาคังนี้ (1) ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 400 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง มีอายุระหว่าง 26-30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ระหว่าง 20,001-30,000 บาท ไม่มีปัญหาสุขภาพ ต้องการทำสปาเพื่อบำรุงผิวพรรณและความสวยงาม ได้รับข้อมูลข่าวสารจากแผ่นพับ ใบปลิว นิตยสารต่างๆ และเข้ารับบริการจากสถานบริการโดยตรงเพราะความสะอาดของสถานที่ให้บริการโดยส่วนมากเข้ารับบริการสปาเพื่อสุขภาพจากสถานบริการ 1 ครั้งต่อเดือนและได้รับความพึงพอใจภายหลังจากการรับบริการ (2) ส่วนประสมการตลาดทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการเลือกรับบริการสปาเพื่อสุขภาพมากที่สุดคือ ผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรองจาก อ.ย. 2) ด้านราคาที่ใช้ในการเลือกรับบริการมากที่สุด คือราคาสินค้าสมเหตุสมผล 3) การจัดจำหน่ายที่ใช้ในการเลือกรับบริการมากที่สุดคือ สถานที่ต้องสะอาด แอร์เย็นสบาย และ 4) การส่งเสริมการตลาดที่ใช้ในการเลือกรับบริการมากที่สุดคือ การโฆษณาทางแผ่นพับ ใบปลิว นิตยสารและ (3) จากการทดสอบความสัมพันธ์ลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์กับส่วนประสมการตลาดทั้ง 4 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8431 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
119791.pdf | 2.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License