กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8440
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานบริษัทเวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The motivation factors of employees at Western digital (Thailand) Co., Ltd
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนชัย ยมจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิสูตร สังข์ฉิม, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัทเวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย)--พนักงาน
การจูงใจในการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานของ พนักงาน บริษัท เวสเทิร์นดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด (2) เปรียบเทียบปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานของ พนักงาน บริษัท เวสเทิร์นดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด โดย จำแนกตาม เพศ อายุ รายได้ ระดับ การศึกษา ระยะเวลาการทำงาน และ ระดับตำแหน่งงาน (3) เสนอแนะแนวทางการปฏิบัติงานของ พนักงาน บริษัท เวสเทิรันดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับ การแข่งขันในโลกาภิวัฒน์ กลุ่มตัวอย่างการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้แก่พนักงานทุกระดับของ บริษัท เวสเทิร์นคิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด กำหนดที่ค่าความเชื่อมั่น 95% และมีค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 5% จำนวน ประชากรที่ชุ่มตรวจสอบ 133 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ ค่าสถิติ และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One way ANOVA) โดยใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน โดยรวมอยู่ในระดับ มาก (x = 3.59 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่สูงอันดับแรกคือ ความมั่นคงในการทำงาน และอันดับสุดท้ายคือ ความก้าวหน้าในการทำงาน (2) เปรียบเทียบปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานของ พนักงาน ด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันมีแรงจูงใจในการทำงานไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 (3) การปฏิบัติงานของพนักงานเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่ามีระดับแรงจูงใจ ปาน กลางอยู่ 3 ด้าน คือ ความก้าวหน้าในการทำงาน เงินเดือนและสวัสดิการ การได้รับการยอมรับนับ ถือ เนื่องจากพนักงานมีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี 81.3 % แนวทางการปฏิบัติคือ พนักงาน ต้องศึกษาต่อให้มีความรู้ ความสามารถมากขึ้น และ บริษัทต้องให้การสนับสนุนบุคคลากรต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8440
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
119158.pdf2.68 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons