Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8442
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวิเชียร ใจดี, 2501-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-08-04T07:40:54Z-
dc.date.available2023-08-04T07:40:54Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8442-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรจังหวัดทหารบกสุราษฏร์ธานี (2) ศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยเกี่ยวกับการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรจังหวัด ทหารบกสุราษฎร์ธานี (3) เสนอแนะแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคคลากรจังหวัด ทหารบกสุราษฎร์ธานี การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจประชากรคือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานของจังหวัดทหารบก สุราษฎร์ธานี จำนวน 350 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามวิธีของ ทาโร ยามาเนได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 187 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าที การ ทดสอบค่าเอฟและการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) บุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีอายุต่ำกว่า 25 ปี สมรส แล้ว มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มีระดับตำแหน่ง/ชั้นยศ ตั้งแต่ สิบตรี-จ่าสิบเอก (พิเศษ) มีระยะเวลา ปฏิบัติงาน ต่ำกว่า 5 ปี มีระดับเงินเดือน ตั้งแต่ 10,001 - 20,000 บาท และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยเกี่ยวกับ การปฏิบัติงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในภาพรวมระดับมาก เมื่อจำแนกตามรายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ด้านนโยบาย และผู้บังคับบัญชา ด้านระบบงานและสภาพแวดล้อม ด้านพัฒนาความรู้และการฝึกอบรม ด้านค่าตอบแทน และสวัสดิการ ด้านงบประมาณ และด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน (2) บุคลากรที่มีเพศ สถานภาพการ สมรส ระดับการศึกษา ระดับตำแหน่ง ที่แตกต่างกันมีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกัน ส่วน อายุ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและระดับเงินเดือนแตกต่างกัน มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และปัจจัยเกี่ยวกับการปฏิบัติงานมีสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ในระดับปานกลาง ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน (3) ผู้บริหารควรให้ความสำคัญ ในปัจจัยเกี่ยวกับการปฏิบัติงานทุกด้านบริหารงานด้วยความยุติธรรม เสมอภาค การมีส่วนร่วม มีการหมุนเวียน บุคลากรให้ปฏิบัติงานทดแทนกัน การเพิ่มรายได้แก่กลุ่มผู้มีรายได้น้อย จัดสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นใน การดำรงชีพ จัดฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะ ความชำนาญ มีการศึกษาดูงานเพื่อเสริมประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ควรจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ ประหยัด คุ้มค่า และทันเวลาth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceReformated digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรจังหวัดทหารบกสุราษฎร์ธานีth_TH
dc.title.alternativeFactors affecting the operating efficiency of personnel in Suratthani Military Districten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
129492.pdf4.06 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons