Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8488
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจําเนียร ราชแพทยาคม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสิริลักษณ์ อินทรชัย, 2525-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-08-06T05:36:00Z-
dc.date.available2023-08-06T05:36:00Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8488-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับพออยู่ พอกิน กรณีศึกษาบ้านหนองปลิง หมู่ที่ 9 ตำบลโคกกะเทียม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี (2) ศึกษาปัญหาและแนวทางการ แก้ไขในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับพออยู่พอกิน กรณีศึกษาบ้านหนองปลิง หมู่ที่ 9 ตำบลโคกกะเทียม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี และ (3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับพออยู่พอกิน กรณีศึกษาบ้านหนองปลิง หมู่ที่ 9 ตำบลโคกกะเทียม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ประชากรที่ใช้ในการศึกษาแบ่งเป็น 4 กลุ่มคือ ผู้นำชุมชน ตัวแทนชาวบ้านที่ดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้นำชุมชนที่ไม่เป็นทางการกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 22 คนใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้าง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) สภาพการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับพออยู่พอกิน บ้านหนองปลิง หมู่ที่ 9 ตำบลโคกกะเทียม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี มีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงได้แก่ โดยการใช้เวทีประชาคมในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ร้อยละ 70 ของครัวเรือน มีการส่งเสริมการออมทรัพย์ และจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชน (2) 1)ปัญหาของบ้านหนองปลิง คือ ก) ด้านการลดรายจ่าย ชาวบ้านไม่ นิยมทำงานที่ยาก เสียเวลา และยังนิยมการดื่มสุราและอบายมุข ข) ด้านการเพิ่มรายได้ ขาดเงินทุน ความรู้ ทักษะ ในการทำอาชีพเสริม ขาดตลาดรองรับ ค) ด้านการประหยัด ชาวบ้านส่วนมากไม่มีเงินเหลือออม ง) ด้านการเรียนรู้ เยาวชนไม่สนใจ จะเรียนรู้และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นความรู้และการนำหลักการเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวันยังไม่ดีพอ จ) ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ความรู้และความเข้าใจในการใช้วัตถุดิบอย่างยั่งยืนในการประกอบอาชีพน้อย ฉ) ด้านความเอื้ออารี ชาวบ้านยังขาดความสมัครใจในการช่วยเหลือคนจน คนด้อยโอกาส 2) แนวทางการแก้ไข ในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับพออยู่พอกิน บ้านหนองปลิง หมู่ที่ 9 ตำบลโคกกะเทียม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ก) ด้านบทบาทผู้นำชุมชนควรใช้ศักยภาพของผู้นำชุมชนและการดำเนินการที่เข้มแข็งเป็นปัจจัยที่ส่งเสริม ให้เกิดความสำเร็จในการพัฒนา ข) ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ทุนทางสังคมทั้งที่ เป็นรูปธรรมและนามธรรม ชุมชนเข้มแข็ง สอนให้ชาวบ้านเรียนรู้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ค) เพื่อส่งเสริมแนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ง) ส่งเสริมปัจจัยเงื่อนไขความสำเร็จ โดยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การมีวินัยในการใช้จ่าย การเพิ่มรายได้ และการบูรณาการร่วมกัน และ (3) เสนอแนะการพัฒนาเพื่อยกระดับหมู่บ้านหนองปลิง หมู่ที่ 9 ตามแนวทางการ ดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้ ก) หน่วยงานภาครัฐควรให้ความรู้สร้างความเข้าใจด้านการลดรายจ่าย ข) หน่วยงานภาครัฐและเอกชนควรสนับสนุนให้ความรู้และเงินทุนในการประกอบอาชีพ ค) สมาชิกครัวเรือนทำบัญชี รายรับ รายจ่าย ง) คนรุ่นใหม่ควรสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น จ) สร้างจิตสำนึกด้านจิตอาสาให้แก่ชาวบ้านth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการพัฒนาชุมชน--แง่เศรษฐกิจ--ไทย--ลพบุรีth_TH
dc.titleแนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับพออยู่ พอกิน กรณีศึกษาบ้านหนองปลิง หมู่ที่ 9 ตำบลโคกกะเทียม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรีth_TH
dc.title.alternativeDevelopment approach for uplifting sufficient economy village (sufficient to survive, sufficient to eat level) : a case study of Nongpling Village Moo 9 Khok Katiam Sub-district, Muang Lopburi District, Lopburi Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were to: (1) study current circumstance of a sufficient economy village (sufficient to survive, sufficient to eat level) at Nongpling Village Moo 9, Khok Katiam Sub-District, Muang Lopburi District, Lopburi Province; (2) study problems and ways to solve problems for developing a sufficient economy village (sufficient to survive, sufficient to eat level) at Nongpling Village Moo 9; and (3) recommend development approach for uplifting a sufficient economy village (sufficient to survive, sufficient to eat level) at Nongpling Village Moo 9. This study was a qualitative research conducted by documentary research, in- depth interviewing and focus group method. Population was categorized into 4 main groups: official community leaders, representatives of villager living in Nongpling Village Moo 9, authorized government officials, the unofficial leader of the community by mean of purposive sampling method. Samples were totally 22 persons. The research instrument was a semi-structured questionnaire as a guideline for in-depth interview and focus group meeting. The data analysis employed content analysis technique. The result of this study revealed that: (1) the circumstance of Nongpling Village Moo 9 fulfilled with several activities that fostered the development of self-sufficient village economy, including through the use of community meeting forum to solve community problems, making a capital accounting of household income over 70 percent, a promotion of savings and an establishment of a Community Learning Center; (2) 1) problems of Nongpling Village Moo 9 were: a) reducing expenditure aspect: villagers did not like complicated and hard work and preferred drinking alcohol and gambles b) increasing income aspect: villagers were lack of fund, knowledge, skills to do supplementary job and also no markets for handling those products c) saving aspect: villagers had no surplus money to save d) learning aspect: youths were not interested in conserving and learning local inherited wisdoms and were not good at applying sufficiency philosophy in their daily life e) conserving environment and natural resources aspect: villagers did not have good knowledge and understanding in replacing sustainable raw materials in their routine works f) generosity aspect: voluntarily approach in helping the poor, the underprivileged was still less 2) development approach for solving problem of Nongpling Village Moo 9 should be done through: a) community leaders’ potentiality and strong implementation as a achieved tool b) supportive factors such as social capitals both concrete and abstract ones, strengthened community, teaching how to manage with natural resources c) navigating life under the philosophy of sufficiency economy d) success factors such as the learning of participation procedure, following the disciplines in spending money as well as other integration concepts for development; and (3) development approach for uplifting a sufficient economy village (sufficient to survive, sufficient to eat level) at Nongpling Village Moo 9 should follow the philosophy of sufficient economy in terms of a) relevant government organizations should provide knowledge in reducing expenditure b) both government and private sector should support budget and knowledge in building careers c) members in villagers’ family make capital accounting of household income d) youth should inherit local wisdoms e) government organization promote social voluntary mind to the villagersen_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_144750.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.67 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons