Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8505
Title: | การตลาดเฉพาะกลุ่ม : กรณีศึกษาผู้ประกอบการรายย่อยในกลุ่มผู้ชุมนุม |
Other Titles: | Niche marketing : a case study of small entrepreneurs in the protest group |
Authors: | จิระภรณ์ ตันติชัยรัตนกูล วสันต์ บุษยะมา, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การตลาดรายย่อย การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาเรื่อง "การตลาดเฉพาะกลุ่ม : กรณีศึกษาผู้ประกอบการรายย่อยในกลุ่มผู้ชุมนุม" มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงการดำนินงานทางการตลาดของผู้ประกอบการรายย่อยในกลุ่มผู้ชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกอบการรายย่อยในกลุ่มผู้ชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยวิธีการศึกษาใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการรายย่อยที่เปิดร้านจำหน่ายสินค้าอยู่ในบริเวณโดยรอบการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ทำเนียบรัฐบาล การสังเกตตลอดจนการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากแห่ล่งต่างๆนำมาวิเคราะห์ และเรียบเรียง เพื่อสรุปให้เห็นภาพรวมการดำเนินงานทางการตลาดของผู้ประกอบการรายย่อยในกลุ่มผู้ชุมนุม จากการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการรายย่อยที่เปิดร้านจำหน่ายสินค้าอยู่ในบริเวณโดยรอบ การชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 26-35 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช./ปวส./ปวท. อาชีพเดิมก่อนที่จะมาเปีดร้านจำหน่ายสินค้าบริเวณรอบทำเนียบรัฐบาลผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีอาชีพค้ำาขายอยู่แล้ว ภูมิสำนาเดิมอยู่ในกรุงเทพมหานคร และมีวัตถุประสงค์ในการเปิดร้านค้าเพื่อจำหน่ายสินค้าและเข้าร่วมชุมนุม โดยผู้ประกอบการต้องยื่นเรื่องเพื่อขอใบอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าจากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อได้รับใบอนุญาตจึงสามารถเปิดร้านจำหน่ายสินค้าได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เริ่มเข้ามาเปีดร้านจำหน่ายสินค้าที่บริเวณทำเนียบรัฐบาลตั้งแต่ เดือนกันยายน พ.ศ. 2551 เริ่มจำหน่ายสินค้าตั้งแต่เวลา 12.00 -24.00 น. ส่วนใหญ่จำหน่ายสินค้าประเภทเสื้อยืด มือตบ ต่างหู กิ๊บติดผม และที่คาดผม ฯลฯ โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อวันประมาณ 1,000-5,000 บาท กำไรเฉลี่ยต่อวัน ประมาณ 500-1,000 บาท ปัญหา และอุปสรรคในการจำหน่ายสินค้าเกิดจากสภาพดินฟ้าอากาศ วันที่ขายสินค้าได้น้อย คือ วันจันทร์ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8505 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
122329.pdf | 3.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License